นิทรรศการ Identifying and Countering Holocaust Distortion: Lessons for and from Southeast Asia (การระบุและต่อต้านการบิดเบือนโฮโลคอสต์: บทเรียนสำหรับเอเชียอาคเนย์และบทเรียนจากเอเขียอาคเนย์) จะนำเสนอประสบการณ์โฮโลคอสต์ (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว หรือ Holocaust) ของประเทศโปแลนด์และประเทศยุโรปตะวันออกเป็นสิ่งแรก และจากนั้นจะนำเสนอประวัติศาสตร์และสิ่งที่สืบทอดในประเทศและภูมิภาคของเอเชียอาคเนย์ นิทรรศการนี้จะมุ่งเน้นไปที่ประเทศกัมพูชา พม่า และไทย ถึงแม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีประสบการณ์โดยรวมเรื่องสงครามโลกครั้งที่สองร่วมกันกับยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก แต่แต่ละภูมิภาคก็มีประสบการณ์ของตนเองที่ต่างกันออกไป โฮโลคอสต์เริ่มต้นในประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยนาซีเยอรมนีและผู้สมรู้ร่วมคิดได้สังหารชาวยิวหกล้านคน (และเหยื่อจากกลุ่มอื่น ๆ) ในค่ายมรณะหรือโดยการประหารชีวิต ณ จุดที่พบในระหว่างปี ค.ศ. 1933 - ค.ศ. 1945 ประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบเผด็จการก็มีอดีตที่โหดร้ายเช่นกัน เรื่องนี้จึงเป็นหัวข้อถกเถียงที่ยากลำบากและยังเกี่ยวข้องกับบทบาทของประเทศที่ถูกยึดครองในภูมิภาคนี้ในระหว่างที่เกิดโฮโลคอสต์ โดยบางส่วนเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ผู้เพิกเฉยต่อเหตุการณ์นี้ ในขณะที่อีกส่วนเป็นผู้ช่วยเหลือและผู้ไม่ยอมเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าเอเชียอาคเนย์จะประสบกับการเข้ายึดครองของประเทศญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และยังมีความขัดแย้งอื่น ๆ และมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นอีกด้วย แต่ความตระหนักเรื่องโฮโลคอสต์นั้นยังมีน้อย จึงมีโอกาสเกิดการบิดเบือนและการลดความสำคัญจนเหมือนไม่มีความสำคัญ (trivialisation) อยู่มาก นอกจากความไม่สนใจด้านประวัติศาสตร์ การไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์โฮโลคอสต์และความไม่สามารถประยุกต์ใช้บทเรียนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับยุโรปแล้ว ก็ยังมีตัวอย่างการบิดเบือนเรื่องโฮโลคอสต์ในที่สาธารณะและในวาทกรรมตามสื่อต่าง ๆ จำนวนมากอีกด้วย นิทรรศการนี้มุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นเพื่อให้เกิดวาทกรรมเชิงวิพากษ์เรื่องการจัดการสิ่งที่ตกทอดมาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยใช้วิธีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และจัดหาเครื่องมือและการโต้แย้งเพื่อพูดถึงการบิดเบือนโฮโลคอสต์โดยใช้การอภิปรายจากประเทศยุโรปตะวันออก วัตถุประสงค์ของเราคือเพื่อขจัดการบิดเบือน การทำให้เรื่องรุนแรงกลายเป็นเรื่องไม่สำคัญ (banalization) และการปฏิเสธว่ามีโฮโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ เกิดขึ้น เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของโฮโลคอสต์ว่าเป็นสิ่งที่สืบทอดร่วมกันและเป็นจุดอ้างอิงในการอภิปรายร่วมสมัยในเรื่องสิทธิมนุษยชน เราเห็นว่าการปฏิเสธและการบิดเบือนโฮโลคอสต์นั้นเป็นความเกลียดชังรูปแบบหนึ่งที่มาพร้อมกับการด้อยค่าของเหยื่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ใช้เพื่อสนับสนุนว่าการแบ่งแยกและการกระทำรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ ต่อชนกลุ่มต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง นิทรรศการรูปแบบดิจิทัลนี้จะมีข้อมูลจากองค์กร NEVER AGAIN Association และข้อมูลที่เพื่อนร่วมงานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราเก็บสะสมและแบ่งปัน
การปฏิเสธเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อ่านเพิ่มเติม
การปฏิเสธ (หรือการคัดค้าน) โฮโลคอสต์นั้นถือว่าเป็นรูปแบบของการแก้ไขทางประวัติศาสตร์ (historical revisionism) ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สองที่รุนแรงที่สุด แม้จะมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าคำว่า การปฏิเสธโฮโลคอสต์ และ การแก้ไข นั้นเป็นการกระทำที่ต่างกัน แต่ก็มักมีการใช้คำว่า ‘การแก้ไขโฮโลคอสต์’ (‘Holocaust revisionism’) ในการบรรยายเชิงวิชาการหรือในที่สาธารณะ ผู้ที่ปฏิเสธมักจะเรียกตนเองว่า ‘นักแก้ไข’ (‘revisionists’) การใช้คำเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามของคนเหล่านื้ที่ต้องการแสดงว่าตนเป็นนักวิชาการและนักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริง อ่านเพิ่มเติม [1] ‘Historical revisionism’ is the reinterpretation of already established views on motivation, evidence of certain historical events.
การปฏิเสธโฮโลคอสต์คือการปฏิเสธข้อเท็จจริงโดยสมบูรณ์ที่ว่ามีโฮโลคอสต์เกิดขึ้น ในขณะที่การบิดเบือนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้นและแยกออกมาได้ยากกว่า โดยมันคือปรากฎการณ์การบิดเบือนและจัดการข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ตนต้องการ International Holocaust Remembrance Alliance (IHRA) Working Definition of Holocaust Denial and Distortion. อ่านเพิ่มเติม
ในขณะที่ทางตะวันตกได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาของโฮโลคอสต์มากขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แต่สำหรับในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกนั้น การพูดคุยเรื่องเหล่านี้กลายเป็นความท้าทายบทใหม่หลังจากที่ระบบคอมมิวนิสต์ล่มสลายลง โดยที่การย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในอดีตยังคงมาคู่กันกับการแข่งขันกว่าใครเป็นเหยื่อที่เลวร้ายกว่ากัน และยังมีการด้อยค่าและการบิดเบือนโฮโลคอสต์อีกหลายประเภทซึ่งถูกนำไปอุดรอยรั่วหลังจากที่ประวัติศาสตร์ชาติที่เคยยิ่งใหญ่ล่มสลายไป อ่านเพิ่มเติม
เรามักมองโฮโลคอสต์ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เป็นกระบวนทัศน์ (paradigmatic genocide) ซึ่งช่วยให้ครูและนักนักเรียนเช้าใจเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการกระทำที่โหดร้ายอื่น ๆ โฮโลคอสต์ถูกนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อใช้ในการอ้างอิงและสนทนาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือปัญหาอ่อนไหวร่วมสมัยอื่น อ่านเพิ่มเติม
หลายประเทศในยุโรปมีกฎหมายห้ามไม่ให้ปฎิเสธว่าเหตุการณ์โฮโลคอสต์ไม่ได้เกิดขึ้น และหลายประเทศยังมีการออกกฎหมายต่อต้านความเกลียดชังด้านเชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่กว้างกว่า อ่านเพิ่มเติม
Consectetur adipiscing elit nullam nunc justo sagittis suscipit ultrices.
Background and context ● Basic facts about modern history of its country and main cases of mass violence In April 1975, after a five-year war, the Khmer Rouge[1] seized power in Cambodia, and created the Democratic Kampuchea. [1] The Khmer Rouge is the name given to members of the Communist Party of Kampuchea and by extension to the regime between 1975 and 1979.
Background and context ● Basic facts about modern history of its country and especially main cases of mass violence● Information about historiography: the main themes, the main elements of memorialisation● The role of the country in WWII, memorialisation of WWII - does it exist, in what forms?
Background and context ● Basic facts about modern history of its country and especially main cases of mass violenceviolence in the deep south● Information about historiography: the main themes, the main elements of memorialisation● The role of the country in WWII, memorialisation of WWII - does it exist, in what forms? ● Aspects of social diversity, the main minorities in the country, cases of persecution after 1945
created with