บทที่ 2 บทเรียนสำหรับและจากประเทศกัมพูชา

ในปีค.ศ. 2015 อนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงเหยื่อที่เสียชีวิตในศูนย์ความมั่นคง S-21 ได้ถูกสร้างขึ้น (เครดิต: Jean Sien Kin)

1. ภูมิหลังและบริบท

  • ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศและเหตุการณ์หลักที่เกี่ยวกับความรุนแรงหมู่  

17 เมษายน ค.ศ. 1975-7 มกราคม ค.ศ. 1979 ระบบการปกครองของเขมรแดงและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นรูปแบบการสังหารอย่างเป็นระบบและการฆ่าชาวเขมร เวียดนาม  จาม (ชาวมุสลิม) ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ และชาวต่างชาติ 

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1975 ห้าปีหลังจากสงครามกลางเมืองจบลง ขบวนการเขมรแดงที่นำโดยพอล พต (Pol Pot) ก็เข้ายึดอำนาจในกัมพูชาและสร้างรัฐเผด็จการที่รู้จักกันในชื่อว่ากัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) ภายในช่วงเวลาสั้นๆ เขมรแดงได้ทำลายทรัพย์สินส่วนบุคคล ตลาด ฉากภาพวัฒนธรรม สถาบันการเมืองและการศึกษา และบังคับให้ประชากรในเมืองต้องทำงานในไร่นาในสภาพที่ยากเข็ญ การปกครองที่โหดร้ายของเขมรแดงก่อให้เกิดการขนย้ายประชากรครั้งใหญ่ กล่าวคือ คนเมืองถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ชนบทเป็นจำนวนมาก ซึ่งการต้องย้ายถิ่นนี้เกิดขึ้นรวดเร็วมาก  ในขั้นตอนของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขั้นแรก เขมรแดงได้แบ่งแยกและจัดกลุ่มสังคมให้เป็น พวกเขา และ พวกเรา  เขมรแดงได้สร้างความคิดเรื่องศัตรูภายในและภายนอกขึ้น โดยระบุว่าคนเหล่านี้เป็นผู้มีมลทิน ต่างจากคนอื่น และเป็นคนต่างประเภทจากตนเอง คนเหล่านี้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศและเป็นภัยต่อ อังการ์ (หรือองค์กร ซึ่งในที่นี้คือแขมรแดง – ผู้แปล) การก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมของเขมรแดงยังได้ทำลายความสามัคคีระหว่างผู้คนทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและความหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา 

ในช่วงเวลาเพียงไม่นาน ประชากรถึงหนึ่งในสี่ของประเทศหรือมากถึงสองล้านคนก็เสียชีวิตจากการบังคับใช้แรงงาน การแสวงหาผลประโยชน์ ความหิวโหย และเสียชีวิตตามสถานที่ที่ใช้สังหาร เช่น เรือนจำ S-21 (ซึ่งคือ พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง) และตามสถานที่อื่นๆ ที่รู้จักกันในชื่อว่า ทุ่งสังหาร 

คุณสามารถดูลำดับเหตุการณ์ได้จากลิงค์นี้ (ภาษาอังกฤษ)

คำถามชวนคิด

  1. ลักษณะสำคัญของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงคืออะไร 
  2. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาเป็นที่รู้จักอย่างเพียงพอและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติหรือไม่
  • ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์: หัวข้อหลัก องค์ประกอบหลักของการสร้างเครื่องเตือนความทรงจำ 

ในกัมพูชาหลังจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สถานที่ที่เคยใช้เป็นที่สังหารซึ่งคือศูนย์ความมั่นคงหลัก S-21 (พิพิธภัณฑ์ตวลสเลงในปัจจุบัน) และทุ่งสังหารที่เจิงเอก ได้กลายเป็นสถานที่สำหรับอนุสรณ์หลัก ทั้งตวลสเลงและทุ่งสังหารที่เจิงเอกนั้นต่างเป็นพยานหลักฐานของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

งานอัตชีวประวัติของฤทธี ปานห์ (Rithy Panh)  ชื่อ The Elimination ได้สะท้อนถึงการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ภายใต้สภาพแวดล้อมสุดขั้วภายใต้การปกครองของเขมรแดง และยังได้แสดงถึงนัยสำคัญอย่างมากของความทุกข์ทรมานของชาวกัมพูชาอีกด้วย ภาพยนตร์สารคดีของปานห์เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชานั้นรวมไปถึง ‘S-21: The Khmer Rouge Killing Machine’ และ ‘Rice People’ ซึ่งเป็นภาพยนตร์จากกัมพูชาเรื่องแรกที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ ภาพยนตร์ของ Netflix เรื่อง First They Killed My Father ของแองเจลินา โจลี (Angelina Jolie) นักแสดงจาก
ฮอลลีวูดและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนสร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากคำบอกเล่าของ หลง อึ้ง (Loung Ung) ผู้รอดชีวิตจากการปกครองของเขมรแดงเมื่อมีอายุห้าปี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเรื่องราวของเขมรแดงและระบอบการปกครองที่เต็มไปด้วยการเข่นฆ่าออกสู่สายตาผู้ชมทั่วโลก

มีการสร้างอนุสรณ์สถานเกือบ 80 แห่งและหลุมฝังศพหมู่และศพประมาณ 20,000 ศพได้รับการรักษาไว้ไม่ให้เสียหาย

นอกจากนี้ เหยื่อที่รอดชีวิตยังรับมือกับความโหดร้ายในอดีตและความทรงจำต่างๆ โดยการเล่าเรื่องราวและการแสดงออกผ่านศิลปะ บทกลอน และการแสดงละครในรูปแบบต่างๆ

ฤทธี ปานห์และราฟาล พานโควสกี้ (Rafal Pankowski) ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร NEVER AGAIN ที่การประชุม ‘The Missing Picture: Rethinking Genocide Studies and Prevention’ ณ กรุงพนมเปญ ค.ศ. 2019

พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง (The Tuol Sleng Genocide Museum) (เครดิต: Jean Sien Kin)

ห้องกักขังและห้องทรมาน ศูนย์ความมั่นคง S-21 ตวลสเลง  (เครดิต: Jean Sien Kin)

ห้องกักขังและห้องทรมาน ศูนย์ความมั่นคง S-21 ตวลสเลง  (เครดิต: Jean Sien Kin)

ในปีค.ศ. 2015 อนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงเหยื่อที่เสียชีวิตในศูนย์ความมั่นคง S-21 ได้ถูกสร้างขึ้น (เครดิต: Jean Sien Kin)

จุมเมย (Chum Mey) ในรูปถ่ายด้านบนร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร NEVER AGAIN เป็นหนึ่งในหลายพันคนที่ถูกคุมขังที่เรือนจำ S-21 และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่คนที่มีชีวิตรอดจากประสบการณ์นี้ ก่อนถูกคุมขัง จุมเมยเป็นช่างมาก่อนและเอาตัวรอดในระหว่างถูกจองจำโดยการทำตัวเป็นประโยชน์ต่อเขมรแดงด้วยการช่วยซ่อมเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้บันทึกรายละเอียดการสอบสวน ตวลสเลง ค.ศ. 2018   (เครดิต: NEVER AGAIN Association)

มีการริเริ่มที่มีค่ามากมายที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาผ่านทางวัฒนธรรมดนตรี เขมรแดงพยายามทำลายวัฒนธรรมดนตรีและการเต้นรำของกัมพูชา แต่วัฒนธรรมเหล่านี้ก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่และได้รับการเฉลิมฉลองผ่านงานขององค์กร Cambodian Living Arts ที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาน ชอนพอน (Arn Chorn-Pond) ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตเด็กจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์:

อาน ชอนพอน (Arn Chorn-Pond) (เครดิต: Bostonglobe.com)

อาน ชอนพอน (Arn Chorn-Pond) (เครดิต: VOA/Irwin Loy, Wikimedia Commons)

กั๊ก จันธี (Kak Channthy), Cambodian Space Project

วงดนตรีร็อค Cambodian Space Project ได้นำความทรงจำของฉากดนตรีป็อปและร็อคแอนด์โรลของกัมพูชาในทศวรรษ 1960 และ 1970 กลับมาอีกครั้ง ซึ่งรวมถึงศิลปินเช่นรส เสรีสุทธา (Ros Serey Sothea) ผู้เสียชีวิตด้วยน้ำมือของเขมรแดง แม้กั๊ก จันธี (Kak Channthy) นักร้องนำของ Cambodian Space Project จะเสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าในปีค.ศ. 2018 แต่มรดกนี้ก็ยังคงอยู่ สามารถดูได้ที่:

กั๊ก จันธี (Kak Channthy) (เครดิต: Julien Poulson, Cambodian Space Project)

  • บทบาทของประเทศในสงครามโลกครั้งที่สอง มีการสร้างเครื่องเตือนความทรงจำของสงครามโลกครั้งที่สองหรือไม่ และอยู่ในรูปแบบใด 

กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงกลางศตวรรษที่ 20 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบวิชี่ของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของนาซีเยอรมนีได้ดูแลกัมพูชาและประเทศอื่นในอินโดจีนที่เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสน้อยมาก เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในเวลานั้นเป็นผู้เริ่มใช้รูปแบบขบวนการเคลื่อนย้ายทางการเมือง (political mobilisation) แบบฟาสซิสต์ โดยได้รับการสนับสนุนบ้างจากนักเคลื่อนไหวชาวกัมพูชาที่เห็นว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ทันสมัย กิจกรรมที่สนับสนุนฟาสซิสต์ที่นำโดยฌอง เดอคูซ์ (Jean Decoux) ผู้ว่าการชาวฝรั่งเศสนั้นรวมถึงการก่อตั้ง ยูวาน (Yuvan) ซึ่งเป็นขบวนการเยาวชนเขมรที่มีต้นแบบจากยุโรป และมีการใช้สัญลักษณ์ เช่น การยกมือทำความเคารพแบบนาซี หรือ Roman salute มีการห้ามชาวยิวไม่ให้ทำหน้าที่ต่างๆ ในอาณานิคม มีการเผยแพร่การชวนเชื่อเพื่อต่อต้านชาวยิว โดยเลียนแบบมาจากการบรรยายแบบขวาจัดที่มีมากในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสถูกแทนที่ด้วยการยึดครองของญี่ปุ่น ขบวนการชาตินิยมหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ใช้โอกาสนี้ขยายตัวออกไป กลุ่มหัวรุนแรงที่สนับสนุนญี่ปุ่นค่อยๆ ขยายอิทธิพลออกไป และทำการรัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และอยู่ในอำนาจจนถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกันจนกระทั่งฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองกัมพูชาอีกครั้ง สามารถพูดได้ว่าเหตุการณ์นี้นับเป็นกรณีที่ขบวนการสนับสนุนฟาสซิสต์ได้ยึดอำนาจในช่วงก่อนจบสงครามโลกครั้งที่สองไม่นานนักเพียงกรณีเดียว

สงครามโลกครั้งที่สองเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้รับการจดจำมากนักในกัมพูชาและในประเทศก็ไม่มีอนุสรณ์สถานหรือเครื่องเตือนความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลานี้เลย หนึ่งในตัวอย่างของการสร้างสิ่งเตือนความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองในกัมพูชาที่แทบไม่เป็นที่รู้จักคือการตีพิมพ์ไดอารีของแอนน์ แฟรงค์ (Anne Frank) เป็นภาษาเขมร

ต่อมา ความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองในกัมพูชาก็ถูกบดบังโดยเหตุการณ์น่าเศร้าอื่นๆ สงครามกลางเมืองกัมพูชา (ที่ดำเนินมาจนถึงทศวรรษ 1990) และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม พอล พต (Pol Pot) ผู้นำเขมรแดงก็ยังคงแสดงความคลั่งไคล้ในตัวฮิตเลอร์ในสุนทรพจน์และการสนทนาส่วนตัวต่างๆ จากบันทึกความทรงจำของเจ้านโรดมสีหนุที่ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1980

สมาชิกองค์กรเยาวชนยูวานเดินสวนสนามเพื่อสนับสนุนรัฐบาลวิชีในฝรั่งเศส (จอห์น ทัลลี (John Tully), A Short History of Cambodia: From Empire to Survival. (2006). อัลเลนและอันวิน (Allen & Unwin)

คำถามชวนคิด

  1. โปรดดูอนุสรณ์สองแห่งนี้ คือ รูปปั้นของเหยื่อที่ตวลสเลงโดย เซรา อิง (Séra Ing) ศิลปินชาวฝรั่งเศส-กัมพูชาและรูปปั้นวงเวียนเพื่อฉลองการโค่นล้มเขมรแดงโดยเวียดนาม อนุสรณ์ทั้งสองแห่งนี้มีส่วนในการสร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเขมรแดงและการกระทำอันโหดร้ายของเขมรแดงได้อย่างไร 
  • ลักษณะของความหลากหลายในสังคม ชนกลุ่มน้อยหลักในประเทศ กรณีการลงโทษหลังปีค.ศ. 1945 

ประชากรส่วนใหญ่ของกัมพูชาเป็นชาวพุทธชาติพันธุ์เขมรแต่ในประเทศก็มีชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ด้วย ชนกลุ่มน้อยหลักรวมไปถึง ชุมชนชาวจามมุสลิม ชาวชาติพันธุ์จีน และชาวชาติพันธุ์เวียดนาม และยังมีชนพื้นเมืองกลุ่มเล็กๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ชาวขแมร์กรอม (Khmer Krom) และชาวกูย (Kuy) ในระหว่างการปกครองของเขมรแดง ชาวจามและชาวเวียดนามถูกเข่นฆ่าเป็นจำนวนมาก เขียว สัมพัน (Khieu Samphan) ผู้เป็นผู้นำเขมรแดงที่มีชีวิตอยู่เป็นคนสุดท้ายถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวจามมุสลิมและชาวชาติพันธุ์เวียดนามในกัมพูชาโดยศาลพิเศษคดีอาชญากรรมสงครามแห่งกัมพูชาในปีค.ศ. 2018

ศึกษาเพิ่มเติม (ภาษาอังกฤษ): Minorities and indigenous people in Cambodia

ชายชาวมุสลิมรวมตัวกันในกัมพูชา (เครดิต: สยานา สา)

จากตัวเลขของกระทรวงธรรมการและศาสนา มีสุเหร่า 884 แห่งและโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 314 โรงในกัมพูชา (จากเอกสารส่วนตัวของสยานา สา (Sayana Ser)

สตรีชาวจามมุสลิมในกัมพูชา (เอกสารส่วนตัวของสยานา สา

คำถามชวนคิด

  1. สงครามมีผลกระทบต่อชนกลุ่มน้อยอย่างไร ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายมากกว่าปกติหรือไม่ 
  2. เราสามารถใช้มาตรการป้องกันใดเพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยเมื่อเกิดความขัดแย้งต่างๆ

2. ประเภทของการปฏิเสธและการบิดเบือนโฮโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีอยู่

  • Multideniers

กลยุทธ์ทางอ้อมบางส่วนของผู้ปฏิเสธโฮโลคอสต์นั้นเหมือนกับกลยุทธ์ของการปฏิเสธและบิดเบือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา และในบางกรณี บุคคลคนเดียวกันเป็นผู้ปฏิเสธและบิดเบือนทั้งสองเหตุการณ์ ซี่งในกรณีเหล่านี้ บุคคลนั้นจะถูกเรียกว่า multidenier (ผู้ปฏิเสธหลายเรื่อง) โดยเฉพาะปรากฎการณ์ของ multidenier ที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชา 

    เขียว สัมพัน ระหว่างการพิจารณาคดีเบื้องต้นคดี 002 

(เครดิต: Wikimedia Commons)

เขียว สัมพัน ผู้นำกัมพูชาของเขมรแดง, ค.ศ. 1978 (เครดิต: Wikimedia Commons)

1

เขียว สัมพัน เป็นผู้นำรัฐในนามระหว่างการปกครองของเขมรแดงและถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ งานเขียนของเขียว สัมพัน เป็นตัวอย่างชั้นดีของการปฏิเสธหรือบิดเบือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ผู้เขียนใช้การ
โต้แย้งบางข้อที่เหมือนกับที่ผู้ปฏิเสธหรือบิดเบือนโฮโลคอสต์ในยุโรปใช้ เขาใช้กลยุทธ์เบี่ยงเบนความผิดซึ่งเป็นกลยุทธ์ทั่วไปที่นักวิชาการ เช่น ไมเคิล ชาเฟียร์ (Michael Shafir) อธิบายไว้ในกรณีที่มีการปฏิเสธและบิดเบือนโฮโลคอสต์

เขียว สัมพันพยายามโยนความผิดไปให้บุคคลอื่น เช่น พอล พต และพยายามโยนความผิดส่วนหนึ่งไปให้ชาติอื่นด้วย ซึ่งในกรณีนี้คือเวียดนาม โดยอ้างว่าอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดและเหตุการณ์โหดร้ายที่สุดนั้นไม่ได้มาจากน้ำมือของเขมรแดง หากแต่กองทัพเวียดนามเป็นผู้กระทำการต่างๆ ต่างหาก การโยนความผิดประเภทนี้เป็นลักษณะพิเศษของผู้ปฏิเสธและผู้บิดเบือนโฮโลคอสต์ในยุโรป

2

ฌาคส์ แวร์เจส (Jacques Verges) ทนายชาวฝรั่งเศสของเขียว สัมพัน ทนายผู้เกิดในประเทศไทยผู้นี้ว่าความให้กับบุคคลผู้เป็นปัญหาหลายคนทั้งอาชญากรและเผด็จการ นอกจากจะว่าความให้กับผู้นำเขมรแดงหลายคนแล้ว เขายังเป็นทนายว่าความให้กับเคลาส์ บาร์บี (Klaus Barbie) หนึ่งในอาชญากรนาซีที่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ที่สุดที่ถูกจับกุมและลงโทษในทศวรรษที่ 1980 ข้อหามีส่วนร่วมในการสังหารกำจัดชาวยิวฝรั่งเศส ในช่วงที่ว่าความให้กับผู้นำเขมรแดง ฌาคส์ แวร์เจสยังได้ใช้กลยุทธ์ทางอ้อมบางอย่างที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องไม่สำคัญหรือมีค่าน้อยลง 

21 พฤศจิกายน 2011: ฌาคส์ แวร์เจส (Jacques Verges) ทนายจำเลยของเขียว สัมพันระหว่างวันแรกของการกล่าวนำเสนอเปิดคดี 002 (เครดิต: Wikimedia Commons)

ยาน เมียร์ดัล (เครดิต: Wikimedia Commons)

3

ยาน เมียร์ดัล (Jan Myrdal) เป็นบุคคลสำคัญ นักเขียน และนักเคลื่อนไหวชาวสวีเดน ยาน เมียร์ดัลแสดงความจงเกลียด
จงชังต่อชาวยิวและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเทศอิสราเอลอย่างชัดเจน เขาหลงใหลในระบอบเขมรแดงและมีส่วนร่วมในการปฏิเสธความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของเขมรแดงในกัมพูชาอยู่หลายปี และยังส่งเสริมการบิดเบือน
โฮโลคอสต์โดยใช้เรื่องราวต่อต้านลัทธิไซออนิซึ่ม (anti-Zionism หรือการต่อต้านการสนับสนุนให้ชาวยิวกลับคืนสู่ดินแดนที่คือบริเวณประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ในปัจจุบัน – ผู้แปล) สุดโต่ง โดยอ้างว่าอิสราเอลนั้นพูดเรื่อง
โฮโลคอสต์เกินจริงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง 

4

อิสราเอล ชาเมียร์ (Israel Shamir) มีพื้นเพเดิมเป็นชาวยิวรัสเซีย และเคยอาศัยอยู่ในหลายประเทศรวมไปถึงอิสราเอลและสวีเดน และยังเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการต่อต้านยิวร่วมสมัยอีกด้วย เขากล่าวหาว่าชาวยิวและประเทศอิสราเอลพูดเรื่องโฮโลคอสต์เกินจริงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง นอกจากนี้เขายังเขียนบทความต่างๆ โดยอ้างว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เขมรแดงก่อนั้นไม่เคยเกิดขึ้น อิสราเอล ชาเมียร์เป็นตัวอย่างของ multidenier ที่ปฏิเสธหรือด้อยค่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและในกัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1970

อิสราเอล ชาเมียร์ (เครดิต: Wikimedia Commons)

โนม ชอมสกี (เครดิต: Wikimedia Commons)

5

โนม ชอมสกี (Noam Chomsky) เป็นหนึ่งในผู้รอบรู้ที่มีความสำคัญมากที่สุดในยุคของเรา เขาไม่ใช่ผู้ปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม อาจสามารถตีความบางสิ่งที่ชอมสกีพูดและเขียนโดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ว่าเป็นการด้อยค่าอาชญากรรมของเขมรแดงได้ ต่อมาเขาได้ขอถอนคำพูดบางส่วนในคำกล่าวเหล่านั้น แต่บทบาทของชอมสกีในช่วงนั้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงยังคงเป็นปัญหาอยู่ และยังมีคำกล่าวบางส่วนของเขาที่เป็นการ
ปฏิเสธโฮโลคอสต์อีกด้วย ซี่งรวมไปถึงการเขียนคำนำให้กับหนังสือฉาวโฉ่ที่ปฏิเสธโฮโลคอสต์ที่เขียนโดยโรแบร์ โฟริซง (Robert Faurisson) ผู้ปฏิเสธโฮโลคอสต์ชาวฝรั่งเศส โฟริซงเคยเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแต่ถูกสั่งให้หยุดสอนและถูกนำตัวขึ้นศาลข้อหาปฏิเสธว่านาซีมีห้องรมแก๊ส ชอมสกี้กล่าวว่าเขาเขียนคำนำด้วยเหตุผลด้านเสรีภาพในการแสดงออก แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากเรื่องบทบาทของตนในการทำให้การปฏิเสธและบิดเบือนโฮโลคอสต์บางรูปแบบและการบิดเบือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาเป็นเรื่องถูกกฎหมาย 

คำถามชวนคิด

  1. การปฏิเสธและบิดเบือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งสามารถทำไปสู่การปฏิเสธและบิดเบือนรูป
    แบบอื่นๆ ได้หรือไม่ 
  2. การปฏิเสธและบิดเบือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รูปแบบต่างๆ ในโลกนี้มีสิ่งใดเหมือนกันบ้าง

องค์ประกอบท้องถิ่นที่กัมพูชาอาจนำมาใช้ได้เพื่อสู้กับการปฏิเสธและการบิดเบือน: ปัญหาเรื่องความรับผิดชอบและการขัดขืนในระหว่างการปกครองของเขมรแดง 

ด้วยกระบวนการการรับมือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตที่ซับซ้อน ชาวกัมพูชาจึงสามารถพูดคุยเรื่องราวที่ยากลำบากต่างๆ ได้ เช่น ความรับผิดชอบของตนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศ และการต่อต้านของประชาชนระหว่างที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ความสามารถในการกลับมาใช้ชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโฮโลคอสต์สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงและแรงบันดาลใจให้เอาชนะอดีตที่ยากลำบากของตนได้

ในระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศ มีตัวอย่างการต่อต้านสิ่งที่เกิดขึ้นและมีผู้ที่ไม่ยอมอยู่เงียบในช่วงที่เกิดเหตุการณ์โหดร้ายป่าเถื่อน

โปรดดูเรื่องของบุปผานา หญิงสาววัย 25 ปีที่เขียนจดหมายต้องห้ามในคุกและถูกเขมรแดงประหารชีวิต

บุปผานา (เครดิต: Bophana Audiovisual Resource Center)

เรื่องราวของการกลับมาใช้ชีวิตและการต่อสู้ของผู้หญิงชนกลุ่มน้อยในระหว่างการปกครองของเขมรแดง

ราวร้อยละเจ็ดสิบของผู้รอดชีวิตจากการระบอบการปกครองของเขมรแดงในกัมพูชาเป็นหญิงและส่วนใหญ่เป็นแม่หม้าย นับตั้งแต่ระบอบการปกครองของเขมรแดงล่มสลายลงในปีค.ศ. 1979 ผู้หญิงเป็นกำลังหลักในการทำให้ประเทศเดินหน้าและในการสร้างประเทศขึ้นมาอีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าต่อได้ในช่วงทศวรรษแห่งความวุ่นวายระหว่างทศวรรษ 1980 และ 1990 เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองกับเขมรแดงและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจทำให้โอกาสในการพัฒนาประเทศถูกจำกัด

นอกจากนี้ ด้วยความพยายามที่มุ่งมั่นของผู้หญิงเหล่านี้ วัฒนธรรม การศึกษา และประเพณีของกัมพูชาจึงกลับมามีบทบาทในโครงสร้างสังคมของชีวิตประจำวัน แม้ว่าสถานการณ์จะยากลำบากเพียงใด แต่สตรีชาวกัมพูชาเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเธอมีความเข้มแข็งอย่างยิ่งและสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามเดิมได้

ยังมีเรื่องราวของหญิงกัมพูชาที่รอดชีวิตที่ต้องรับมือกับความทุกข์ทรมาน การสูญเสียและความเจ็บปวดจากอดีตอีกมากมาย และนี่คือเรื่องราวของหญิงหม้ายสองคนที่ต้องทนทุกข์แสนสาหัสระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศ ผู้ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดเพื่อหาเลี้ยงและ
ดูแลลูกๆ และญาติๆ ของตน

สิม มารียาห์ เป็นหญิงสาวชาวกัมพูชามุสลิมที่มีเชื้อสายมาเลย์-ชวา เธอเป็นลูกคนโตของครอบครัวพ่อค้าที่มีลูกสิบคน เธอแต่งงานด้วยความรักกับชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนและมีลูกชายสี่คนและลูกสาวหนึ่งคน

ในระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศ มารียาห์ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เสม มารี เพราะกลัวว่าจะถูกบังคับให้รับประทานเนื้อหมูและทำสิ่งอื่นๆ ที่เขมรแดงกำหนดถ้าทางการรู้ว่าเธอยังคงนับถือศาสนาอยู่ และเธอต้องตัดผมดำยาวที่เธอรักให้สั้นเหมือนกับผู้หญิงทุกคนในช่วงเวลานั้น ส่วนน้องสาวของเธอที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นอายุระหว่าง 13 ถึง 18 ปีต่างต้องโกหกว่าแต่งงานแล้วและสามีถูกส่งออกไปทำงานในกองพันอื่น

เขมรแดงไม่อนุญาตให้นับถือศาสนาใดๆ ไม่อนุญาตแม้แต่ให้เป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ หรือทรัพย์สินใดๆ โดยทุกอย่างต้องเป็นของอังการ์ เด็กๆ ก็เช่นเดียวกันโดยให้ถือว่าอังการ์นั้นเป็นพ่อแม่ของเด็ก เด็กๆ ต้องทำงานในสหกรณ์และในทุ่งนา และต้องคอยนำอาหารไปให้ทหารที่แนวหน้า นอกจากนี้ เด็กๆ เหล่านี้ยังไม่มีสิทธิ์ต่างๆ และถูกพรากจากพ่อแม่ของตนเอง

พ่อของมารีเสียชีวิตจากโรคที่ไม่ได้รับการรักษาในระหว่างที่เขมรแดงปกครอง และในระหว่างนี้ มารีเองก็ยังเสียลูกชายสองคนและลูกสาวคนเดียวไปจากการขาดสารอาหารและโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ เขมรแดงยังได้นำตัวสามีของเธอ (หลง แส หรือ Long Sae) ไปประหารใกล้กับหลุมฝังในจังหวัดกันดาล (Kandal) เพราะเขาอ่อนแอจากการทำงานในนาข้าวและจากการสร้างเขื่อนและระบบชลประทาน

เขมรแดงมองว่าผู้ที่อ่อนแอหรือไม่สบายจนไม่สามารถทำงานในไร่นาหรือไม่รู้จักวิธีปลูกข้าวนั้นเป็นคนในเมือง และคนที่มีผิวขาวหรือใส่แว่นจะถูกมองว่าเป็นหนอนสังคม เป็นพวกนายทุน หรือเป็นศัตรู

เขมรแดงเกือบจะพรากชีวิตมารีไปเมื่อเธอขอร้องให้พวกเขาบอกข้อมูลเกี่ยวกับสามีของเธอ

“ฉันถูกลากไปฆ่าเหมือนกัน ฉันนึกว่าตอนนั้นจะตายแล้วเพราะฉันพยายามถามพวกเขาเรื่องสามีของฉัน แต่ลูกชายตัวเล็กๆ ของฉันที่อายุหกกับแปดขวบร้องไห้แล้วก็กอดขาพวกเขาไว้ และขอร้องให้เขมรแดงปล่อยตัวฉันไป ‘ปล่อยแม่หนูเถอะ ถ้าเอาตัวแม่ไป ใครจะดูแลหนู สงสารหนูเถอะนะ…’”

สุดท้ายแล้วเธอก็ถูกปล่อยตัวและถูกตักเตือนหลังจากที่ถูกทุบตี และการ์ดเขมรแดงคนหนึ่งตบเธอด้วยปืนไรเฟิล ทำให้เธอเลือดออก นอกจากนี้เธอยังถูกทหารฝึกหัดและทหารของเขมรแดงดึงผมและลากไปยังหลุมฝังอีกด้วย 

หลังจากที่ระบอบการปกครองของเขมรแดงล่มสลายลง มารีได้พบกับแม่และพี่น้องของเธอ เธอต้องดูแลสมาชิกถึงเก้าคน ซึ่งรวมไปถึงแม่ของเธอที่เป็นหม้าย ลูกชายสองคน น้องชายคนสุดท้อง น้องสาวสี่คน และหลานสาวที่พ่อแม่ถูกฆ่าในช่วงที่เขมรแดงมีอำนาจ เธอต้องทำงานเป็นแม่ค้าซึ่งเป็นอาชีพของพ่อเธออย่างหนัก สินค้าหลักที่เธอขายคือยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ และเสื้อผ้า เธอต้องเดินทางไปตามจังหวัดต่างๆ เดินไปบ้านแต่ละหลัง และขอพักอาศัยกับเพื่อนหรือคนที่เป็นมิตรพอที่จะให้เธอพักด้วยเป็นเวลาหนึ่งหรือสองคืนโดยมีค่าตอบแทนให้ มารีพบกับความยากลำบากมากมายและต้องดิ้นรนต่อสู้แต่เธอก็เอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้จนเธอสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพในฐานะหญิงหม้ายเพื่อดูแลครอบครัว คนที่เธอรัก และญาติๆ ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าอายุน้อยได้ ทุกคนต้องพึ่งพามารี ลูกชายที่เหลือของเธอและน้องชายคนเล็กกลับไปเรียนในโรงเรียนจนจบและได้ไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ งานหนักที่เธอทำงานสุดท้ายก็ส่งผลสำเร็จ พี่น้องของเธอทั้งหมดรวมถึงหลานสาวตอนนี้ต่างก็มีครอบครัวเป็นของตนเอง 

แม้ทุกวันนี้มารีจะอาศัยอยู่อย่างมีอิสระกับลูกชาย ลูกสะใภ้และหลานๆ ของเธอ แต่สุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของเธอนั้นเริ่มอ่อนล้าลงและยังคงไม่ลืมอดีตที่เจ็บปวดรวดร้าว

“สามีของฉันเป็นคนดี เป็นคนผิวพรรณดีและผิวขาวเพราะบ้านเขาเป็นคนจีน เรารักกัน จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ฉันยังฝันว่าได้เจอเขา ฉันอยากเจอเขา ฉันนั่งนึกถึงหน้าเขา และนึกว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไรถ้าเขายังมีชีวิตอยู่”

สิม มารียาห์ (Sim Maryyah) หรือ เสม มารี (Sem Mary) (ซ้าย) และสุทธา เสม (Sothea Sem) น้องสาว รูปนี้ถ่ายไว้ในปี 1974 ก่อนเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

มารี (ซ้ายสุด) สุทธา (ขวาสุด) พร้อมมารดาและพี่น้องระหว่างงานแต่งงานของหลานชาย (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

มารีและหลานๆ หน้าบ้านของเธอ เธอมีอาการปวดหลังส่วนล่างและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อต่ออักเสบ (สยานา สา) 

แนก ตีเรียม (Neak Tiream) หรืออุ เรียม (Ou Ream), 70

หลังจากที่ระบอบการปกครองของเขมรแดงล่มสลายลง ตีเรียมได้พบกับพี่น้องบางคน หลานชาย และหลานสาว และยังคงพยายามค้นหาสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ เธอต้องดูแลเด็กกำพร้าเจ็ดคนที่พ่อแม่เสียชีวิตระหว่างที่เขมรแดงมีอำนาจหรือถูกเขมรแดงสังหาร

ตีเรียมสูญเสียสมาชิกในครอบครัวและญาติๆ ไปหลายคนในระหว่างที่เขมรแดงขึ้นครองอำนาจ สามีของเธอเป็นข้าราชการและถูกกล่าวหาว่าเป็นคนทรยศ เล่ากันว่าเขาถูกส่งตัวไปเข้ารับการศึกษาใหม่ (re-education) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหมายถึงว่าถูกส่งไปฆ่า สามีของพี่สาวของเธอทำงานเป็นผู้ตรวจการในระหว่างที่ลอน นอล (Lon Nol) ปกครองประเทศ ทั้งคู่ถูกเขมรแดงสังหาร ทำให้ลูกสาวสองคนของทั้งคู่ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้า พี่น้องสามคนของเธอทำงานและมีตำแหน่งในรัฐบาลก่อนหน้า จึงถูกตามล่าและสังหารด้วยเช่นกัน ส่วนน้องชายของเธอยังเป็นนักศึกษาอยู่และถูกเขมรแดงนำตัวไปเช่นกัน

คำโฆษณาต่อต้านระบบการศึกษาของรัฐกล่าวว่า “ไม่มีใบปริญญา มีแต่ใบปริญญาที่คิดเอาเอง ถ้าอยากเรียนจบ ก็ต้องไปที่เขื่อนหรือคลอง” ส่วนคำโฆษณาอีกแบบกล่าวว่า “การเรียนไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งที่สำคัญคือการทำงานและการปฏิวัติ” ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนในระบบจึงถูกห้ามสอนภายใต้การปกครองแบบเผด็จการที่เต็มไปด้วยอันตรายของเขมรแดง  เขมรแดงเปลี่ยนโรงเรียนรัฐบาลและเจดีย์ให้เป็นคุก คอกเลี้ยงสัตว์ และโกดังเก็บของ

ตั้งแต่นั้นมา ตีเรียมก็ต้องดูแลเด็กชายตัวน้อยสองคนและเด็กหญิงตัวเล็กๆ อีกห้าคน เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเป็นใบ้และหูหนวกตั้งแต่ยังเล็ก เธอได้ส่งเด็กๆ ไปโรงเรียนเพื่อจะได้เรียนอ่านเขียน เธอต้องเดินทางไปมาระหว่างบ้านที่อยู่ชานเมืองกรุงพนมเปญและชนก ตรู (Chhnok Trou) ในจังหวัดกำปงฉนัง (Kampong Chhnang) เพราะเธอทำงานเป็นแม่ค้าที่นั่น โดยค้าขายหอยทากน้ำจืดตัวเล็กๆ และหอยหลอดตัวเล็กที่จับมาจากแม่น้ำโตนเลสาบ (Tonle Sap river)

อุ เรียมต้องทำงานหนักมาตลอดเพื่อเลี้ยงดูเด็กๆ เธอไม่มีเวลาดูแลตัวเองมากนัก ดังนั้นเธอจึงไว้ผมสั้นเหมือนผู้ชายและใส่กางเกงตลอดเวลา พี่น้องของเธอจำได้ว่า ก่อนที่เขมรแดงเข้ามาปกครองนั้น อุ เรียมเป็นหญิงสาวตัวเล็กหน้าสะสวยและมีผิวขาวกว่าพี่น้องคนอื่นๆ มีผมสวยและมีท่าทางเหมือนสตรีภูมิฐาน

ทุกวันนี้ ถึงแม้เด็กๆ จะโตและแต่งงานมีครอบครัวกันหมดแล้วยกเว้นคนที่เป็นใบ้ที่อาศัยอยู่กับพี่สาวคนโตของตน แต่อุ เรียมก็ยังคงเดินทางไปมาระหว่างสองเมืองนี้อยู่เพื่อทำมาหากินแม้ว่าสุขภาพของเธอจะไม่ดีเหมือนเก่าหลังจากที่เป็นเส้นเลือดแตกในสมอง ส่งผลให้ใบหน้าครึ่งฟากและปากของเธอเบี้ยวและไม่มีความรู้สึก แต่ถึงกระนั้นเธอก็พยามยามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ โดยการใช้เรี่ยวแรง การกระตุ้นตนเอง และกำลังใจของตน

ในช่วงที่เขมรแดงมีอำนาจ เธอเก็บของไว้เพียงสองอย่างเท่านั้น นั่นคือ ผ้าห่มที่เธอใช้เป็นหมอนหรือใช้ปูพื้นนอนตอนกลางคืน และช้อนที่เธอต้องร้อยเชือกและคล้องคอไว้หรือพกติดตัวไปด้วยตลอดเวลาเพื่อไม่ให้หายหรือถูกขโมยไป ของเพียงสองชิ้นนี้คือสมบัติที่เหลือจากเขมรแดง

ตีเรียม หรือ อุ เรียม (ซ้าย) และหลง ยา เพื่อนสนิท ก่อนเขมรแดงขึ้นครอแนก งอำนาจ (สยานา สา)

ผ้าห่มของแนก ตีเรียมที่เหลือรอดมาจากช่วงเขมรแดง (ภาพ: สยานา สา)

แนก ตีเรียมกำลังเดินทางไปนครเมกกะพร้อมกับครอบครัวที่สนามบินนานาชาติพนมเปญ (สยานา สา) (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

แนก ตีเรียมและพี่สะใภ้ (สยานา สา) (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

แนก ตีเรียม (กลาง) และสยานา สา (ขวาสุด) และครอบครัว (เครดิต: สยานา สา) (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

3. มีการดำเนินการของรัฐหรือเอกชนเพื่อป้องกัน/ต่อสู้กับการปฏิเสธหรือไม่ 

ตัวอย่างการดำเนินการของรัฐ:

  • มีการตั้งศาลปฏิวัติประชาชน (The People’s Revolutionary Tribunal) เพื่อดำเนินคดีลับหลังพอล พต และเอียง ซารี (Ieng Sary) ในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เจ็ดเดือนหลังที่เขมรแดงถูกยึดอำนาจในปีค.ศ. 1979
  • Renakse Records: ผู้รอดชีวิตชาวกัมพูชาได้ยื่นคำร้องประมาณ 1.6 ล้านคำร้องตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 ถึงปีค.ศ. 1984 เพื่อให้องค์กรสหประชาชาติรับรู้ว่าได้เกิดเหตุการณ์โหดร้ายจากน้ำมือของเขมรแดง คำร้องนี้ได้บรรยายความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวกัมพูชา วิธีที่ใช้สังหารและจำนวนผู้ที่ถูกฆ่า สถานที่ที่ใช้สังหาร และความทุกข์ทรมานของผู้คน 
  • มีการกำหนดให้วันที่ 20 พฤษภาคมเป็นวันแห่งความโกรธแค้น หรือ Day of Anger (วันรำลึก) ในปีค.ศ. 1984 เพื่อช่วยให้ผู้รอดชีวิตประนีประนอมกับเหตุการณ์ในอดีตและพูดถึงประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้
  • พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง (The Tuol Sleng Genocide Museum) และทุ่งสังหารที่เจิงเอกกลายเป็นสถานที่สำหรับหลักฐานการเข่นฆ่าและการทำลายล้าง และยังเป็นสถานที่สำคัญสำหรับความทรงจำร่วมกันอีกด้วย 
  • ในปีค.ศ. 2003 รัฐบาลกัมพูชาและองค์กรสหประชาชาติได้จัดตั้งองค์ชุมนุมชำระวิสามัญแห่งตุลาการกัมพูชา (The Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia (ECCC)) หรือ ศาลเขมรแดง (Cambodia Khmer Rouge Tribunal) เพื่อดำเนินคดีผู้นำเขมรแดงที่มีส่วนร่วมกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เขมรแดงครองอำนาจ

ตัวอย่างการดำเนินการของสังคม

  • ศูนย์ Bophana Center ได้เปิดใช้ Khmer Rouge History Application เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 โดยแอปพลิเคชั่นนี้เป็นแอปพลิเคชั่นที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตบนอุปกรณ์สมาร์ทต่างๆ แอปพลิเคชั่นนี้ช่วยให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเขมรแดง ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และสันติภาพจากเหล่าผู้รอดชีวิต 
  • หนังสือเรื่อง Diary of a Young Girl หรือ บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ เป็นสมุดจดบันทึกภาษาดัตช์ที่เขียนโดยแอนน์ แฟร้งค์ เด็กสาวชาวยิวอายุ 13 ปีในขณะที่ต้องหลบซ่อนตัวกับครอบครัวเป็นเวลาสองปีเมื่อนาซีเข้า
    ยึดครองประเทศเนเธอร์แลนด์  ครอบครัวของแอนน์ แฟร้งค์ถูกจับได้ในปีค.ศ. 1944 และถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันเอาชวิตซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz-Birkenau) ต่อมา แอนน์ แฟร้งค์ถูกส่งตัวต่อไปที่ค่ายกักกัน
    เบอร์เกน-เบลเซน (Bergen-Belsen) และเสียชีวิตที่นั่นด้วยโรคไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย) ในปีค.ศ. 1945 ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเธอเป็นผู้เก็บบันทึกเหล่านี้ไว้และมอบให้กับอ็อตโต้ แฟร้งค์ พ่อของแอนน์ ซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวคนเดียวที่รอดชีวิต นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บันทึกของแอนน์ถูกตีพิมพ์และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 70 ภาษา ในปีค.ศ. 2002 Documentation Center of Cambodia ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ในเวอร์ชั่นภาษาเขมรและได้แจกจ่ายให้โรงเรียนและห้องสมุดกว่า 200 แห่ง สยานา สา เด็กสาววัย 16 ปีจากชุมชนจามมุสลิมในกัมพูชาเป็นผู้แปลหนังสือเล่มนี้
  • ในปีค.ศ. 2019 องค์กร NEVER AGAIN และ Heinrich Boell Stiftung กัมพูชาได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับโฮโลคอสต์สำหรับชาวกัมพูชาในกรุงพนมเปญโดยจัดเป็นภาษาเขมรและภาษาอังกฤษ ซึ่งการจัดการสัมมนาครั้งนี้นับเป็นการจัดการสัมมนาในหัวข้อนี้เป็นครั้งแรกของประเทศ และจากนั้น องค์กร Heinrich Boell Stiftung กัมพูชายังได้ตีพิมพ์บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ในภาษาเขมรเป็นครั้งที่สองในปีค.ศ. 2020 อีกด้วย

ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่องโฮโลคอสต์ในกรุงพนมเปญที่จัดโดยองค์กร NEVER AGAIN Association และองค์กร Heinrich Böll Stiftung กัมพูชา, กรกฎาคม 2019. (เครดิต : องค์กร  NEVER AGAIN)

คำถามชวนคิด

  1. ผู้อ่านชาวกัมพูชาจะสามารถรู้สึกเชื่อมโยงกับบันทึกของแอนน์ แฟร้งค์ได้หรือไม่
  2. เรื่องราวส่วนตัวจะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเข้าอกเข้าใจระหว่างเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งสองกลุ่มได้อย่างไร

หน้าปกของบันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์เป็นภาษาเขมร ตีพิมพ์ครั้งที่หนึ่งและสอง (2002, 2020)

Thank you for taking the time to give us feedback on this online exhibition. Please share your thoughts, reflections and comments on this. We appreciate your cooperation.

Supported by

Chapter II. Lessons for and from Cambodia

Tuol Sleng as a site of memory brings evidence of the cruelest genocidal atrocities perpetrated by the Khmer Rouge totalitarian regime against humanity. In 2015, a memorial monument to the victims who perished at Security Centre S-21 was erected. (Credit: Jean Sien Kin/Tuol Sleng Genocide Museum, 2022)

1. Background and context

Basic facts about the modern history of Cambodia and the main cases of mass violence

17 April, 1975—7 January, 1979: The Khmer Rouge regime and the Cambodian genocide: the systematic persecution and killing of ethnic Khmers, Vietnamese, Cham (Muslims), other minorities and foreigners.

In April 1975, after a five-year civil war, the Khmer Rouge movement led by Pol Pot seized power in Cambodia and established a totalitarian regime known as Democratic Kampuchea. In a short time, they eliminated private property, markets, the cultural scene, and educational and political institutions, and forced the urban population to work in agriculture under arduous conditions. The murderous regime caused an enormous population transfer: a massive and sudden displacement of people from towns and cities to the countryside. During the first stage of the genocide, the Khmer Rouge divided and classified society into ‘them’ and ‘us’. They created the notion of external and internal enemies, who were portrayed as impure, different, and foreign, and who had allegedly betrayed and threatened Angkar (‘the Organisation’). By imposing divisions in society, the Khmer Rouge also destroyed all kinds of solidarity among people, creating an atmosphere of constant fear and suspicion.

Soon, a quarter of the Cambodian population, up to two million people, was exterminated through forced labour, exploitation, starvation, and at sites of extermination, such as Security Centre S-21 (presently the Tuol Sleng Genocide Museum), as well as other sites known as the Killing Fields.

See: Chronology of key events.

Questions for Critical Thinking:

  • ​What were the main features of the Khmer Rouge genocide?
  • Is the Cambodian genocide sufficiently well known and recognised internationally?

Historiography: the main themes and elements of memorialisation

In postgenocide Cambodia, the former sites of destruction—Security Centre S-21 (presently the Tuol Sleng Genocide Museum) and the Killing Fields at Choeung Ek—have become the central spaces of memory. Tuol Sleng and Choeung Ek Killing Fields serve as unique testimonies.

Although Rithy Panh’s literary autobiographical account, The Elimination focuses on humans’ survival in extreme circumstances under the murderous Khmer Rouge regime, it also demonstrates the universal significance of the Cambodian suffering. His documentary films on the Cambodian genocide include S-21: The Khmer Rouge Killing Machine and Rice People, the first Cambodian film to be nominated for an Oscar. Hollywood actress and human rights activist, Angelina Jolie’s Netflix movie, First They Killed My Father is based on the testimony of Loung Ung, who survived the Khmer Rouge regime between the ages of five and ten years. The film brings the story of the Khmer Rouge and its murderous regime to a global audience.

Nearly eighty memorials have been built. Around 20,000 mass graves and sets of remains have been preserved.

Victim-survivors have coped with the past atrocities and memories using oral history, as well as different forms of art, poetry and theatre performance.

Rithy Panh with cofounder of NEVER AGAIN, Rafał Pankowski at the event ‘The Missing Picture: Rethinking Genocide Studies and Prevention’ organised by International Association of Genocide Scholars, Phnom Penh, 2019. (Credit: NEVER AGAIN Association)

The entrance to the Tuol Sleng Genocide Museum. The former site of destruction and contemporary Museum forms a part of the city landscape. It is unique in its geographical and symbolic proximity to the Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia (ECCC) or Cambodia Khmer Rouge Tribunal, which was established as a court, by the Cambodian government and the United Nations to try the Khmer Rouge leadership responsible for crimes perpetrated during their reign. (Credit: Jean Sien Kin/Tuol Sleng Genocide Museum, 2022)

Survived prison’s concrete buildings, small cells, walls, graffiti, iron beds, instruments used for torture show the condition where genocide took place, suffering of the people and mistreatment and humiliation of the people. Security Centre S-21, Tuol Sleng. (Credit: Jean Sien Kin/Tuol Sleng Genocide Museum, 2022)

The abandoned prison’s buildings, blood traces on floors, and hundreds of mug shots, victims’ belongings and inscriptions on the walls demonstrate extreme human suffering, loss, and destruction. The Tuol Sleng Genocide Museum’s archive is holding about 60.000 documents from S-21 and the Conservation lab is taking care of thousands of objects, including clothes from the prisoners. All survived items are pieces of evidence and of great historical value. The archives were inscribed on the UNESCO Memory of the World Register in 2009 as the first step towards preserving the history and avoiding its trivialisation and denial. (Credit: Jean Sien Kin/Tuol Sleng Genocide Museum, 2022)

Tuol Sleng as a site of memory brings evidence of the cruelest genocidal atrocities perpetrated by the Khmer Rouge totalitarian regime against humanity. In 2015, a memorial monument to the victims who perished at Security Centre S-21 was erected. (Credit: Jean Sien Kin/Tuol Sleng Genocide Museum)

Chum Mey, pictured with the cofounder of NEVER AGAIN, is just one of thousands who were imprisoned at S-21, and one of a very few to have survived the experience. Chum Mey was a mechanic before his imprisonment. He survived by being useful to the Khmer Rouge, helping to repair the typewriters used to note details of their interrogations. Tuol Sleng,  2018. (Сredit: NEVER AGAIN Association)

Valuable initiatives have been launched in commemoration of the Cambodian genocide through music. The Khmer Rouge sought to destroy the traditions of Khmer music and dance.

Those traditions have since been recreated and celebrated through the work of Cambodian Living Arts, established by Arn Chorn-Pond, who as a child survived the genocide:

Arn Chorn-Pond and the Khmer Rouge.
(Credit: Bostonglobe.com)

Arn Chorn-Pond, a Khmer Rouge survivor and cofounder of Cambodian Living Arts.
(Credit: VOA/Irwin Loy, Wikimedia commons)

Kak Channthy. (Cambodian Space Project)

The rock band, the Cambodian Space Project has endeavoured to revive and celebrate the memory of the Cambodian rock ‘n’ roll and pop scene that thrived in the 1960s and 1970s, and included figures such as Ros Serey Sothea, the singer who perished at the hands of the Khmer Rouge. The lead singer of the Cambodian Space Project, Kak Channthy died in an accident in 2018. Her legacy continues.
Listen to the Cambodian Space Project:

Kak Channthy.
(Credit: Julien Poulson, Cambodian Space Project)

The role of Cambodia in the Second World War, memorialisation of the Second World War: does it exist? In what forms?

From the late nineteenth until the mid-twentieth century, Cambodia was colonised by France. During the Second World War, the French Vichy regime (which was subordinate to Nazi Germany) nominally maintained the French protectorate over Cambodia and other parts of Indochina. The fascist model of political mobilisation was introduced to Cambodia by the French colonial authorities of that time. Fascism found support among Cambodian activists who viewed the model as a modernising ideology. Led by the French governor, Jean Decoux, this led to the formation of the Khmer youth movement, Yuvan (based on the European model, complete with symbolism such as the ‘Roman salute’). The exclusion of Jews from the colonial service was accompanied by the dissemination of antisemitic propaganda, which echoed the French far-right discourse predominant in the metropole.

After French colonial control was succeeded by a Japanese occupation, the emerging radical nationalist movement embraced the opportunity to grow. The pro-Japanese radicals gradually expanded their influence and staged a coup d’état in August 1945. They remained in power until October 1945, when French control was reestablished. This is arguably a unique case of a pro-fascist movement seizing power during the final days of the Second World War.

The Second World War is not widely remembered in Cambodia, and no monuments or memorials of that period exist in the country. One of the few known examples of memorialisation of the conflict is the publication of The Diary of a Young Girl (Anne Frank’s diary) in the Khmer language.

Later, the memory of the Second World War in Cambodia was overshadowed by other tragic events: the Cambodian Civil War and the Khmer Rouge genocide.

Nevertheless, the Khmer Rouge leader, Pol Pot displayed somewhat of an obsession with Adolf Hitler in his speeches and private talks, according to King Norodom Sihanouk’s memoir published in 1980.

Members of the Yuvan youth organisation march in support of the Vichy government in France. (John Tully, A Short History of Cambodia: From Empire to Survival. (2006). Allen & Unwin)

The Roundabout Statue Celebrating the Overthrow of the Khmer Rouge by Vietnam and To Those Who Are No Longer Here memorial created by French-Cambodian artist Séra. (Credit: Wikimedia Commons)

Question for Critical Thinking:

  • Look at the photographs of the two monuments: the Memorial sculpture To Those Who Are No Longer Here created by French-Cambodian artist Séra and the Roundabout Statue Celebrating the Overthrow of the Khmer Rouge by Vietnam. What role do these monuments play in constructing collective memory about the Khmer Rouge and its atrocities? Read more about To Those Who Are No Longer here.

Aspects of social diversity, the main minorities in the country, cases of persecution after 1945

Although minorities have been present in the country, the majority of the Cambodian population are ethnic Khmer followers of Buddhism. The largest minorities in Cambodia are the Cham Muslim community, ethnic Chinese and ethnic Vietnamese, as well as numerous smaller indigenous groups, such as the Khmer Krom and the Kuy. Under the Khmer Rouge regime, the Cham and Vietnamese, specifically, were targeted for extermination. The last surviving leader of the Khmer Rouge, Khieu Samphan was convicted for genocide against Cambodia’s Muslim Cham and ethnic Vietnamese by the international Tribunal for Khmer Rouge crimes in 2018.

Explore more: Minorities and indigenous people in Cambodia

Gathering of Muslim men in Cambodia. (Credit: Archive of Sayana Ser)

Cambodia has 884 mosques and 314 Islamic schools, according to figures from the Ministry of Cults and Religion in Cambodia. (Credit: Archive of Sayana Ser)

สตรีชาวจามมุสลิมในกัมพูชา (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

Questions for Critical Thinking:

  1. How can war affect minorities? Are they especially vulnerable?
  2. What preventive measures to protect minorities might exist in times of conflict?

2. Existing types of Holocaust and genocide denial and distortion

Multideniers

Some of the discursive strategies of Holocaust deniers are similar to those used by those who deny the Cambodian genocide. In some cases, the denial or distortion of both is even promoted by the same actors, who can be described as multideniers. The phenomenon concerns Cambodia particularly.

Case 002 Initial Hearing Khieu Samphan.
(Credit: Wikimedia Commons)

Khieu Samphan, Khmer Rouge head of state of Cambodia, 1978.
(Credit:Wikimedia Commons)

1

Khieu Samphan was the nominal head of state during the time of the Khmer Rouge regime. He was later convicted for crimes against humanity. His writings are a classic example of genocide denial or distortion: materials in which the author uses arguments that are highly typical of those who deny or distort the Holocaust in Europe. Samphan deflects guilt, a common strategy identified by scholars, such as Michael Shafir in cases of Holocaust denial and distortion. Samphan attempts to shift the guilt to other individuals, such as Pol Pot and to Vietnam, claiming that the worst crimes and atrocities were not committed by the Khmer Rouge regime, but by the Vietnamese army. This kind of blame shifting is highly characteristic of Holocaust deniers and distorters in Europe.

2

Jacques Verges, who is of Thai origin, defended many problematic individuals, such as criminals and dictators. As well as representing the leaders of the Khmer Rouge, he also defended Klaus Barbie, a notorious Nazi criminal, who was eventually arrested and sentenced in the 1980s for his role in the extermination of French Jews. In the course of defending the Khmer Rouge leaders, Verges resorted to discursive strategies that were tantamount to genocide denial or trivialisation and minimisation.

21 November, 2011: Jacques Verges, the French international defence lawyer for Khieu Samphan during the first day of the opening statements in Case 002.
(Credit: Wikimedia Commons)

Jan Myrdal.
(Credit: Wikimedia Commons)

3

Jan Myrdal was a Swedish public figure, author and activist. Myrdal displayed a clear antipathy against Jews and, in particular, against Israel. He was fascinated with the Khmer Rouge regime and for many years was involved in denying the reality of its crimes in Cambodia, as well as promoting a radical anti-Zionist version of Holocaust distortion, claiming that Israel was exaggerating the Holocaust for its own benefit.

4

Israel Shamir, who is of Russian Jewish origin and has lived in several countries, including Israel and Sweden, is one of the symbols of the contemporary antisemitic movement. He accuses the Jews and Israel of exaggerating the Holocaust for its own benefit. He has also written articles claiming that the crimes against humanity committed by the Khmer Rouge never occurred. He is a prime example of a multidenier who denies or minimises genocides and abuses of human rights, both during the Second World War and in Cambodia in the 1970s.

Israel Shamir.
(Credit: Wikimedia Commons)

Noam Chomsky.
(Credit: Augusto Starita/Ministerio de Cultura de la Nación/Wikimedia Commons)

5

Noam Chomsky is one of the most significant intellectuals of our era. He is not a genocide denier. However, some of his statements, especially those he made in the late 1970s, could be interpreted as minimisation of the crimes of the Khmer Rouge. He has since partially retracted some of those statements. His role during that time concerning the Cambodian genocide, however, remains problematic, as do several of his statements concerning Holocaust denial. Chomsky wrote the preface to an infamous book authored by Robert Faurisson, a French Holocaust denier, who was suspended from his university teaching position and brought before a court for denying that the Nazi gas chambers had existed. Chomsky claimed that he offered the preface in the name of freedom of speech; nevertheless, he was criticised heavily for his role in legitimising some forms of Holocaust denial and distortion, as well as distortion of the Cambodian genocide.

Questions for Critical Thinking:

  • Can one form of genocide denial and distortion lead to other forms?
  • What similarities are there between different forms of genocide denial and distortion across the world?

Potential local tools for Cambodia to counter denial and distortion: The issue of responsibility and resistance against the Khmer Rouge

Through a complex process of dealing with the past, Cambodians are able to discuss difficult subjects, such as their own responsibility during the time of the Khmer Rouge regime, as well as the population’s resistance during the genocide.
The resilience of Holocaust survivors can act as a reference and an inspiration to Cambodians in overcoming their own difficult past.
Resistance occurred under the Khmer Rouge, and some refused to stay silent during the atrocities. Read the story of Bophana, a twenty-five-year old woman who wrote forbidden letters in prison, and was executed by the Khmer Rouge.

Watch the Symposium presentations:

  • ‘Globalisation of genocide denial. The case of genocide multideniers’ by Prof. Rafal Pankowski, co-founder, NEVER AGAIN Association, Warsaw, Poland
  • ‘Dealing with the past in Cambodia in the context of genocide distortion’ by Sayana Ser, Peace Institute Cambodia, Phnom Penh, Cambodia.
  • ‘Bophana Center’s work against the denial and distortion of Khmer Rouge atrocities’ by Sopheap Chea, Executive Director at Bophana Audiovisual Resource Center, Phnom Penh, Cambodia.

Watch the Symposium Keynote talk about genocide distortion and denial in Southeast Asia and worldwide by Professor Ben Kiernan, Professor of International and Area Studies, Director of the Genocide Studies Program at Yale University, USA:

Bophana. (Credit: Bophana Audiovisual Resource Center)

The online event was organized by the NEVER AGAIN Association in cooperation with the Balac Program of the Faculty of Arts, Chulalongkorn University, Bangkok (Thailand) and the American University of Phnom Penh (Cambodia), with the support of the International Holocaust Remembrance Alliance (IHRA) and Heinrich Boell Stiftung Cambodia.

เรื่องราวของการกลับมาใช้ชีวิตและการต่อสู้ของผู้หญิงชนกลุ่มน้อยในระหว่างการปกครองของเขมรแดง

ราวร้อยละเจ็ดสิบของผู้รอดชีวิตจากการระบอบการปกครองของเขมรแดงในกัมพูชาเป็นหญิงและส่วนใหญ่เป็นแม่หม้าย นับตั้งแต่ระบอบการปกครองของเขมรแดงล่มสลายลงในปีค.ศ. 1979 ผู้หญิงเป็นกำลังหลักในการทำให้ประเทศเดินหน้าและในการสร้างประเทศขึ้นมาอีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าต่อได้ในช่วงทศวรรษแห่งความวุ่นวายระหว่างทศวรรษ 1980 และ 1990 เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองกับเขมรแดงและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจทำให้โอกาสในการพัฒนาประเทศถูกจำกัด

นอกจากนี้ ด้วยความพยายามที่มุ่งมั่นของผู้หญิงเหล่านี้ วัฒนธรรม การศึกษา และประเพณีของกัมพูชาจึงกลับมามีบทบาทในโครงสร้างสังคมของชีวิตประจำวัน แม้ว่าสถานการณ์จะยากลำบากเพียงใด แต่สตรีชาวกัมพูชาเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเธอมีความเข้มแข็งอย่างยิ่งและสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามเดิมได้

ยังมีเรื่องราวของหญิงกัมพูชาที่รอดชีวิตที่ต้องรับมือกับความทุกข์ทรมาน การสูญเสียและความเจ็บปวดจากอดีตอีกมากมาย และนี่คือเรื่องราวของหญิงหม้ายสองคนที่ต้องทนทุกข์แสนสาหัสระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศ ผู้ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดเพื่อหาเลี้ยงและ
ดูแลลูกๆ และญาติๆ ของตน

สิม มารียาห์ (Sim Maryyah) หรือ เสม มารี (Sem Mary), 73

Sim Maryyah, 73 is a Cambodian Muslim woman of Malay–Javanese background. She is the first born among ten siblings in family of merchants. She married Long Sae, a Cambodian–Chinese man. They had four sons and a daughter.

During the time of the Khmer Rouge, Maryyah had to change her name to Sem Mary for fear of being forced to eat pork and enduring other impositions at the hands of the Khmer Rouge if they knew she continued to hold religious beliefs. Like all women during that period, she had to have her long dark hair, which she loved, cut short. Her female teenage siblings, who were between the ages of thirteen and eighteen, had to lie that they were married and that their husbands had been sent to work in other brigades.

The Khmer Rouge refused to allow any personal belief, nor ownership of one’s private belongings or property; everything belonged to the Angkar, including the children. They also had to work at the cooperatives and in the rice fields, carrying food to soldiers on the front lines. They were deprived of all their rights and separated from their parents.

Mary’s father died from illness without treatment during the time of the Khmer Rouge. She also lost two sons and a daughter to the regime from malnutrition and sickness. The Khmer Rouge brought Long Sae to be executed near a pit in Kandal province because he had become weak from overwork in the rice fields, as well as building a dam and a water irrigation system.

The Khmer Rouge considered those who were too weak or sick to work in the fields or those who did not know how to cultivate rice as city people; those who had white skin or wore glasses were considered social worms, capitalists or enemies.

The Khmer Rouge almost took Mary’s life when she begged them for information on her husband’s fate.

‘I was dragged to be killed too. I thought I would die then because I tried to ask them about my husband, but my two little sons of six and eight years old were crying and hugging their legs and begged the Khmer Rouge to release me: “please let my mother go. If you took her away nobody would take care of me, please have pity on us…”,’

Somehow, Mary was released and warned after a Khmer Rouge guard hit her with his rifle, causing her head to bleed. Mary also had her hair pulled by the Khmer Rouge cadres or soldiers and was dragged into a pit.

After the regime collapsed, Mary was reunited with her mother and siblings. Mary had to take care of nine family members, including her widowed mother, two sons, a younger brother, four younger sisters, and a young niece whose parents had been killed by the regime. Mary had been working hard as a salesperson–a business she had inherited from her father. She sold mainly herbal and traditional medicines, as well as clothes. She would travel to the provinces, walking from house to house, and made friends or asked friendly people to provide her with shelter for a few nights to stay in for compensation. Mary faced many hardships and struggles, but she overcame all of them to earn a living to take care of her loved ones who were young and orphaned; they all depended on her. Her sons and youngest brother went to school, graduated and pursued higher education abroad. Her hard work paid off and all of her siblings and niece now have their own families.

Although today, Mary is living in freedom with the family of her older son, daughter-in-law and grandchildren, her physical and mental health has weakened and the shadow of a traumatic and painful past remains embedded in her memories.

‘My husband was a decent man. He had fair skin and a nice complexion, since he was of Chinese descent. We loved each other. Even today, I dream of meeting him. I want to see him. I imagine his face and what our life would be like if he were still alive.’

สิม มารียาห์ (Sim Maryyah) หรือ เสม มารี (Sem Mary) (ซ้าย) และสุทธา เสม (Sothea Sem) น้องสาว รูปนี้ถ่ายไว้ในปี 1974 ก่อนเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

มารี (ซ้ายสุด) สุทธา (ขวาสุด) พร้อมมารดาและพี่น้องระหว่างงานแต่งงานของหลานชาย (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

มารีและหลานๆ หน้าบ้านของเธอ เธอมีอาการปวดหลังส่วนล่างและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อต่ออักเสบ (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

Neak Ti Ream (Ou Ream), 70. After the Khmer Rouge fell, Neak Ti Ream, reunited with some of her siblings, nieces and nephews, and continued searching for other family members. She had been taking care of seven orphans whose parents had been killed by the Khmer Rouge.

Tiream lost many of her family members and relatives during the time of the Khmer Rouge. Her husband was a government official and the regime accused him of treachery. He was sent for re-education; in most cases, that means death. Tiream’s brother-in-law was working as an inspector during the time of the Lon Nol regime. Both he and Tiream’s older sister were killed by the Khmer Rouge, orphaning their two daughters. Three other siblings who worked and occupied positions in the old government were also traced and killed. Tiream’s younger brother was a student and was also abducted by the Khmer Rouge.

An antipublic educational Khmer Rouge slogan stated ‘there are no diplomas, only diplomas one can visualise. If you wish to get a Baccalaureate, you must get it at dams or canals,’. Another stated ‘Study is not important. What’s important is work and revolution’. As a result, formal schools were entirely prohibited under the Khmer Rouge’s dictatorial and murderous rule. The regime transformed public schools and pagodas into prisons, stables and warehouses.

Henceforth, Tiream had to take care of two young boys and five young girls. One of the girls was born deaf and mute. She sent the children to school, and all can read and write. She travels back and forth between home in the outskirts of Phnom Penh and Chhnok Trou in Kampong Chhnang province. She works there as a vendor, trading and selling small freshwater snails and clams collected from Tonlé Sap river.
Tiream has worked very hard to earn a living and feed the children. She does not have much time to take care of herself, so she always keeps her hair in a men’s style and wears only trousers. According to her siblings, Tiream used to be a pretty woman, who had fairer skin than her siblings and beautiful hair. She once had the appearance of an elegant woman.

Presently, although all the orphans have grown up, got married and had children (except the mute one, who now lives with her oldest sister), Tiream continues to travel occasionally between the two locations to earn a living. Her health has deteriorated since she had a stroke, which caused her face and lip to slump to one side. She continues trying to make physical movements using her own strength, motivation and courage.

Tiream could afford to keep only two possessions during the time of the Khmer Rouge: a blanket that she would use as a pillow or as a sheet to spread on the ground for sleeping at night, and a spoon that she would tie around her neck to prevent it from being lost or stolen.

ตีเรียม หรือ อุ เรียม (ซ้าย) และหลง ยา เพื่อนสนิท ก่อนเขมรแดงขึ้นครอแนก งอำนาจ (เครดิต: แฟ้มข้อมูลครอบครัวของสยานา สา)

ผ้าห่มของแนก ตีเรียมที่เหลือรอดมาจากช่วงเขมรแดง (เครดิต: สยานา สา)

Neak Ti Ream going to Mecca, with family at Phnom Penh International Airport.
(Credit: Family archive of Sayana Ser)

Neak Ti Ream with her sister-in-law.
(Credit: Family archive of Sayana Ser)

Neak Ti Ream (center) with Sayana Ser (first right) and her family.
(Credit: Family archive of Sayana Ser)

3. มีการดำเนินการของรัฐหรือเอกชนเพื่อป้องกัน/ต่อสู้กับการปฏิเสธหรือไม่

ตัวอย่างการดำเนินการของรัฐ:

  • มีการตั้งศาลปฏิวัติประชาชน (The People’s Revolutionary Tribunal) เพื่อดำเนินคดีลับหลังพอล พต และเอียง ซารี (Ieng Sary) ในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เจ็ดเดือนหลังที่เขมรแดงถูกยึดอำนาจในปีค.ศ. 1979
  • Renakse Records: ผู้รอดชีวิตชาวกัมพูชาได้ยื่นคำร้องประมาณ 1.6 ล้านคำร้องตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 ถึงปีค.ศ. 1984 เพื่อให้องค์กรสหประชาชาติรับรู้ว่าได้เกิดเหตุการณ์โหดร้ายจากน้ำมือของเขมรแดง คำร้องนี้ได้บรรยายความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวกัมพูชา วิธีที่ใช้สังหารและจำนวนผู้ที่ถูกฆ่า สถานที่ที่ใช้สังหาร และความทุกข์ทรมานของผู้คน 
  • มีการกำหนดให้วันที่ 20 พฤษภาคมเป็นวันแห่งความโกรธแค้น หรือ Day of Anger (วันรำลึก) ในปีค.ศ. 1984 เพื่อช่วยให้ผู้รอดชีวิตประนีประนอมกับเหตุการณ์ในอดีตและพูดถึงประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้
  • พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง (The Tuol Sleng Genocide Museum) และทุ่งสังหารที่เจิงเอกกลายเป็นสถานที่สำหรับหลักฐานการเข่นฆ่าและการทำลายล้าง และยังเป็นสถานที่สำคัญสำหรับความทรงจำร่วมกันอีกด้วย 
  • ในปีค.ศ. 2003 รัฐบาลกัมพูชาและองค์กรสหประชาชาติได้จัดตั้งองค์ชุมนุมชำระวิสามัญแห่งตุลาการกัมพูชา (The Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia (ECCC)) หรือ ศาลเขมรแดง (Cambodia Khmer Rouge Tribunal) เพื่อดำเนินคดีผู้นำเขมรแดงที่มีส่วนร่วมกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เขมรแดงครองอำนาจ

ตัวอย่างการดำเนินการของสังคม

  • ศูนย์ Bophana Center ได้เปิดใช้ Khmer Rouge History Application เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 โดยแอปพลิเคชั่นนี้เป็นแอปพลิเคชั่นที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตบนอุปกรณ์สมาร์ทต่างๆ แอปพลิเคชั่นนี้ช่วยให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเขมรแดง ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และสันติภาพจากเหล่าผู้รอดชีวิต 
  • หนังสือเรื่อง Diary of a Young Girl หรือ บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ เป็นสมุดจดบันทึกภาษาดัตช์ที่เขียนโดยแอนน์ แฟร้งค์ เด็กสาวชาวยิวอายุ 13 ปีในขณะที่ต้องหลบซ่อนตัวกับครอบครัวเป็นเวลาสองปีเมื่อนาซีเข้า
    ยึดครองประเทศเนเธอร์แลนด์  ครอบครัวของแอนน์ แฟร้งค์ถูกจับได้ในปีค.ศ. 1944 และถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันเอาชวิตซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz-Birkenau) ต่อมา แอนน์ แฟร้งค์ถูกส่งตัวต่อไปที่ค่ายกักกัน
    เบอร์เกน-เบลเซน (Bergen-Belsen) และเสียชีวิตที่นั่นด้วยโรคไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย) ในปีค.ศ. 1945 ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเธอเป็นผู้เก็บบันทึกเหล่านี้ไว้และมอบให้กับอ็อตโต้ แฟร้งค์ พ่อของแอนน์ ซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวคนเดียวที่รอดชีวิต นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บันทึกของแอนน์ถูกตีพิมพ์และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 70 ภาษา ในปีค.ศ. 2002 Documentation Center of Cambodia ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ในเวอร์ชั่นภาษาเขมรและได้แจกจ่ายให้โรงเรียนและห้องสมุดกว่า 200 แห่ง สยานา สา เด็กสาววัย 16 ปีจากชุมชนจามมุสลิมในกัมพูชาเป็นผู้แปลหนังสือเล่มนี้

ในปีค.ศ. 2019 องค์กร NEVER AGAIN และ Heinrich Böll Stiftung กัมพูชาได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับโฮโลคอสต์สำหรับชาวกัมพูชาในกรุงพนมเปญโดยจัดเป็นภาษาเขมรและภาษาอังกฤษ ซึ่งการจัดการสัมมนาครั้งนี้นับเป็นการจัดการสัมมนาในหัวข้อนี้เป็นครั้งแรกของประเทศ และจากนั้น องค์กร Heinrich Böll Stiftung กัมพูชายังได้ตีพิมพ์บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ในภาษาเขมรเป็นครั้งที่สองในปีค.ศ. 2020 อีกด้วย 

ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่องโฮโลคอสต์ในกรุงพนมเปญที่จัดโดยองค์กร NEVER AGAIN Association และองค์กร Heinrich Böll Stiftung กัมพูชา, กรกฎาคม 2019. (เครดิต: องค์กร  NEVER AGAIN)

คำถามชวนคิด

  1. ผู้อ่านชาวกัมพูชาจะสามารถรู้สึกเชื่อมโยงกับบันทึกของแอนน์ แฟร้งค์ได้หรือไม่
  2. เรื่องราวส่วนตัวจะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเข้าอกเข้าใจระหว่างเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งสองกลุ่มได้อย่างไร

หน้าปกของบันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์เป็นภาษาเขมร ตีพิมพ์ครั้งที่หนึ่งและสอง (2002, 2020)

Feedback

Thank you for taking the time to give us feedback on this online exhibition. Please share your thoughts, reflections and comments on this. We appreciate your cooperation.

Supported by