‘ทางรถไฟสายมรณะ’ พม่า-สยาม, เมียนมา (พม่า) (เครดิต: Wikimedia Commons)
บทที่ 3 บทเรียนสำหรับและจาก ประเทศพม่า
1. ในบทความนี้ คำว่า พม่า และ เมียนมา สามารถใช้สลับกันได้
1. ภูมิหลังและบริบท
-
ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศและเหตุการณ์หลักที่เกี่ยวกับความรุนแรงหมู่
ในปีค.ศ. 1948 พม่า (เมียนมาในปัจจุบัน) ได้รับอิสรภาพจากการปกครองอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และต้องการก่อตั้งประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปีค.ศ. 1962 พม่าอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพและถูกโดดเดี่ยวเกือบครึ่งศตวรรษจนกระทั่งมีการยกเลิกการคว่ำบาตรจากนานาชาติในปีค.ศ. 2011 เรื่องราวของพม่าเป็นเรื่องราวของประเทศที่มีความหลากหลายอย่างมากที่ผ่านมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม จนถึงการถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครอง สงครามเย็น การปิดประเทศ การเปลี่ยนประเทศเป็นกึ่งประชาธิปไตย ไปจนถึงการปฏิวัติของกองทัพในปี.ศ. 2021
โดยสรุปก็คือ พม่าเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น
- ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกองทัพและฝ่ายค้าน
- ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธระหว่างกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และมุมมองอดีตที่ต่างกัน ทำให้เกิดอัตลักษณ์ของรัฐ (ชาติ) ที่อ่อนแอ
- แนวโน้มเรื่องชาตินิยมและความตึงเครียดด้านศาสนาระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิม ซึ่งรวมไปถึงการใช้คำพูดแสดงถึงความเกลียดชังและความรุนแรงที่ถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะกับชุมชนมุสลิมโรฮิงญา การที่ผู้กระทำความผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตยังอยู่ในโครงสร้างของรัฐบาล
ในช่วงเวลาที่กองทัพพม่า หรือ ตัทมาดอว์ (Tatmadaw – กองทัพติดอาวุธของพม่า) ปกครองและพม่าปิดประเทศนั้นมีเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ เกิดขึ้น ในปีค.ศ. 1988 ทหารได้ปราบปรามการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3,000 คน และมีผู้ถูกจับกุมอีกเป็นจำนวนมาก สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Council หรือ SLORC) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ได้ประกาศกฎอัยการศึกและห้ามไม่ให้มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองทุกประเภท ในปีค.ศ. 1990 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy หรือ NLD) ชนะการเลือกตั้ง แต่สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธที่จะมอบอำนาจให้ ในปีค.ศ. 2007 มีการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ โดยประชาชนจำนวนมากรวมไปถึงประสงฆ์ได้ออกมาประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลกองทัพที่จะขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซ และยังมีข้อเรียกร้องที่สนับสนุนประชาธิปไตยด้วย กองทัพได้ปราบปรามการประท้วงและยังทำการกดขี่ผู้ประท้วง เหตุการณ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ‘การปฏิวัติชายจีวร’ (Saffron Revolution) ในปีค.ศ. 2017 กองทัพเมียนมาได้โจมตีชาวโรฮิงญาอย่างหนัก ชาวโรฮิงญานับพันถูกฆ่าและกว่า 700,000 คนต้องลี้ภัยไปประเทศอื่น โดยส่วนใหญ่ลี้ภัยไปที่ประเทศบังคลาเทศ ในปีค.ศ. 2020 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ออกคำสั่งให้เมียนมาป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาและให้รักษาหลักฐานการโจมตีที่เกิดขึ้นเอาไว้
คลื่นความรุนแรงลูกใหม่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 เมื่อกองทัพติดอาวุธปฏิเสธที่จะยอมรับการเลือกตั้งของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่จัดขึ้นก่อนหน้านี้และทำการปฏิวัติยึดอำนาจ
นอกจากนี้แล้ว เมียนมายังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก โดยมีกลุ่มและกลุ่มย่อยชนกลุ่มน้อยที่มีชาติพันธุ์และศาสนาต่างกันเป็นจำนวนมาก โดยมีอย่างน้อย 135 กลุ่ม ซึ่งรวมไปถึง กะเหรี่ยง ฉาน ยะไข่ มอญ ชิน และคะฉิ่น ชนกลุ่มน้อยมีประชากรมากถึงร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเมียนมา และคนพม่าพุทธถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันยังคงมีความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธระหว่างรัฐบาลกลางพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและสิทธิในการ
กำหนดอนาคตของตนเอง ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธเกิดขึ้นในรัฐอาระกัน (ยะไข่) รัฐชิน รัฐคะเรนนี
(กะยา) รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รัฐคะฉิ่น และรัฐฉาน
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์: หัวข้อหลัก องค์ประกอบหลักของการสร้างเครื่องเตือนความทรงจำ
ประวัติศาสตร์ของเมียนมามีเหตุการณ์น่าเศร้าที่สามารถนำมาสร้างเครื่องเตือนความทรงจำได้มากมาย โครงการที่ริเริ่มโดยเอกชนได้รวบรวมการเก็บบันทึกเรื่องราวของผู้รอดชีวิตและพยานเหตุการณ์รุนแรงในอดีตและการเรียกร้องความยุติธรรม องค์กร ’88 Generation Peace and Open Society และองค์กรอื่นๆ ได้จัดพิธีรำลึกเหตุการณ์ความรุนแรงและการประท้วงของนักศึกษาในปีค.ศ. 1988 เป็นประจำทุกปี โดยจะมุ่งเน้นไปที่วันสิทธิมนุษยชนพม่า (Burma Human Rights Day) หรือวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ผู้ประท้วงอายุน้อยคนหนึ่งเสียชีวิต
ในช่วงระยะไม่กี่ปีมานี้ กลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญาและพันธมิตรทั่วโลกได้จัดงานรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
โรฮิงญา โดยวันที่ 25 สิงหาคมได้รับการประกาศให้เป็น “วันรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา” หรือ “Rohingya Genocide Remembrance Day” เพราะวันนี้เมื่อปีค.ศ. 2017 กองทัพเมียนมาได้เริ่มกวาดล้างชาวโรฮิงญาอย่างหนัก ทำให้ประชาชนกว่า 750,000 คนต้องหนีไปประเทศเพื่อนบ้านภายในเวลาไม่กี่วัน
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการริเริ่มเพื่อรำลึกถึงโฮโลคอสต์ที่จัดโดยชุมชนชาวยิวในเมียนมาอีกด้วย
คำถามชวนคิด:
- ภายใต้สภาพใดบ้างที่ความหลากหลายจะกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และภายใต้สภาพใดบ้างที่ความหลากหลายจะกลายเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองและความก้าวหน้าที่สงบสุข
- ผู้นำด้านความเชื่อ (เช่น พระสงฆ์) สามารถช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางบวกและการเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
- เหตุใดถึงมีการอ้างว่าศาสนาเป็นเหตุผลที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดและความรุนแรงระหว่างชุมชน
(เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชุมชนชาวโรฮิงญาที่ชาวพุทธเป็นผู้ก่อขึ้น) และจะสามารถประนีประนอมความแตกต่างทางศาสนาผ่านข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้หรือไม่
2. บทบาทของประเทศในสงครามโลกครั้งที่สอง มีการสร้างเครื่องเตือนความทรงจำของสงครามโลกครั้งที่สองหรือไม่ และอยู่ในรูปแบบใด
ตั้งแต่ปีค.ศ. 1942 ถึงปีค.ศ. 1945 พม่าถูกปกครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของฮิตเลอร์ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พม่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากที่สุด ประชากรพลเรือนของพม่ารวมไปถึงชนกลุ่มน้อยต่างพบกับความโหดร้ายและความหายนะทางเศรษฐกิจ
ถึงกระนั้น ในช่วงที่สงครามเริ่มต้นขึ้น ชาวพม่าส่วนใหญ่และกองทัพเพื่อเอกราชพม่า (Burma Independence Army) ภายใต้การนำของนายพลอองซาน (General Aung San) ได้สนับสนุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ฝึกกองทัพนี้ สำหรับนักเคลื่อนไหวชาวพม่าบางคนแล้ว นี่คือโอกาสที่จะแยกตัวออกมาจากสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม ต่อมาคนเหล่านี้ก็รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่ตนหวังไว้ และเริ่มลงใต้ดินเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น
นายพลอองซานได้ก่อตั้งและเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวใต้ดินที่ชื่อว่า สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist People’s Freedom League หรือ AFPFL) ในปีค.ศ. 1944
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ได้ต่อสู้โดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร ก่อนที่สงครามจะเริ่มต้นขึ้น พม่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมของสหราชอาณาจักร (จนกระทั่งปีค.ศ.1948) ชาวอาณานิคมสหราชอาณาจักรมักให้ชนกลุ่มน้อยเข้าทำงานในหลายตำแหน่ง และสิ่งนี้มักจะเป็นเหตุผลให้เกิดความตึงเครียดในภายหลังระหว่างชาวพม่าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และชนกลุ่มน้อยในปีต่อๆ มา พม่ายังเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรชาวยิวที่รวมตัวกันเป็นอย่างดี กองทัพญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติกับชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมียนมาด้วยวิธีต่อต้านชาวยิวและเหยียดผิวมากจนเกินไปแต่ก็ยังปฏิบัติกับคนกลุ่มนี้เฉกเช่นกับคนที่จงรักภักดีต่อสหราชอาณาจักร เป็นผลให้ชาวยิวจำนวนมากอพยพออกนอกประเทศไป (โปรดดูบทย่อยของเราเรื่อง ชาวยิวในเมียนมา)
ปัจจุบันนี้ การสร้างเครื่องเตือนความทรงจำของสงครามโลกครั้งที่สองภายในเมียนมานั้นเน้นไปที่ประวัติศาสตร์ของกองทัพสหราชอาณาจักรที่แลกมาด้วยประสบการณ์ของชาวพม่าเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของชาวชาติพันธุ์ส่วนมากและชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวกะเหรี่ยงที่ให้เหตุการณ์นี้เป็นอนุสรณ์การเริ่มต้นความขัดแย้งปัจจุบันนั้น ความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองที่คนกลุ่มนี้มีนั้นต่างออกไป ยังไม่มีการพูดถึงหัวข้อนี้อย่างกว้างขวาง และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลัก ณ กรุงย่างกุ้ง ก็ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สองในเมียนมาสามารถนำมาเชื่อมโยงกับโฮโลคอสต์ในยุโรปได้อย่างน่าสนใจ
อนุสาวรีย์ The Burma Star Monument องค์กร Burma Star Association ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1951 สำหรับทหารผ่านศึกของสงครามโลกครั้งที่สองของพม่า (เครดิต: Wikimedia Commons)
ทางรถไฟสายพม่า-ไทย
ในปีค.ศ. 1942-43 กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายพม่า-ไทย หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อ ทางรถไฟสายพม่า-สยาม เส้นทางรถไฟสายนี้มีวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์เพื่อขนกองทัพญี่ปุ่นมาที่พม่าและเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางทางทะเล ทหารญี่ปุ่นบังคับเชลยสงครามจากฝ่ายสัมพันธมิตรรวมถึงทหารออสเตรเลียจำนวน 13,000 คน ทหารชาวดัตช์อีกจำนวนมาก และพลเรือนอีกประมาณ 200,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าและชาวมาเลย์ให้สร้างทางรถไฟ คนจำนวนมากเสียชีวิตเพราะสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่และโรคภัยไข้เจ็บ[2]
การสร้างเครื่องเตือนความทรงจำส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เชลยศึกชาวออสเตรเลียและชาวดัตช์เพราะทั้งรัฐบาลของทั้งสองประเทศและครอบครัวของทหารเหล่านี้ให้ความสนใจ อย่างไรก็ตาม ชะตากรรมของเชลยชาวเอเชียนั้นกลับได้รับการศึกษาและเป็นที่รับรู้น้อยกว่า
ชุมชนชาวยิวขนาดเล็กในเมียนมาจัดพิธีรำลึกโฮโลคอสต์และเหยื่อในกรุงย่างกุ้ง มีการแปลและตีพิมพ์ บันทึกลับของแอนน์ แฟร้งค์ เป็นภาษาพม่า ในอดีต บ้านแอนน์ แฟร้งค์ (Anne Frank House) จะร่วมมือกับองค์กร U Thant House ซึ่งเป็นศูนย์หลักในการเรียนรู้และพูดคุยในกรุงย่างกุ้งและเน้นไปที่ปัญหาหลักที่เมียนมาเผชิญในปัจจุบัน และเพื่อจัดเวิร์คช็อปสำหรับคนหนุ่มสาวในกรุงย่างกุ้ง นอกจากนี้ ในอดีต รัฐบาลพม่า องค์กรสหประชาชาติ และ Yad Vashem ศูนย์รำลึกโฮโลคอสต์ของโลก ได้ร่วมกันจัดงานเพื่อรำลึกโฮโลคอสต์ และมีการจัดสัมมนาเรื่องโฮโลคอสต์สำหรับคนหนุ่มสาวในกรุงย่างกุ้งอีกด้วย
คำถามชวนคิด:
- ความทรงจำทั่วไปเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองมีผลต่อการสร้างเอกลักษณ์ประจำชาติร่วมกันในเมียนมาอย่างไร
- ความทรงจำด้านประวัติศาสตร์จะสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ลัทธิล่าอาณานิคมในพม่าสิ้นสุดลงได้หรือไม่
- ควรสร้างเครื่องเตือนความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นความขัดแย้งในระดับโลกในรูปแบบใดจึงจะมีประโยชน์สำหรับวัฒนธรรมประชาธิปไตยของเมียนมาในปัจจุบัน
2 https://www.nma.gov.au/defining-moments/resources/burma-thailand-railway, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564
สุสาน The Taukkyan War Cemetery (เครดิต: Wikimedia Commons)
‘ทางรถไฟสายมรณะ’ พม่า-สยาม, เมียนมา (พม่า) (เครดิต: Wikimedia Commons)
The Taukkyan War Cemetery is a cemetery for Allied soldiers from the British Commonwealh who died in battle in Burma during the Second World War. The cemetery is in the village of Taukkyan, about 25 kilometres north of Yangon.
(Credit: Wikimedia Commons)
3. ประเภทของการปฏิเสธและการบิดเบือนโฮโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีอยู่
วัฒนธรรมการปฏิเสธที่มีอยู่เรื่องชาวโรฮิงญาและการปฏิเสธเหตุการณ์โหดร้ายที่เกิดขึ้นกับชาว
โรฮิงญา
คำว่า ‘โรฮิงญา’ เป็นคำทางศาสนาชาติพันธุ์ โดยหมายถึงชนกลุ่มน้อยที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่บ้านของบรรพบุรุษอยู่ในรัฐอาระกัน (รัฐยะไข่ – ผู้แปล) ภายใต้พระราชบัญญัติฉุกเฉินว่าด้วยคนเข้าเมืองค.ศ. 1972 (the 1974 Emergency Immigration Act) และพระราชบัญญัติว่าด้วยพลเมือง (Citizen Act) ในปีค.ศ. 1982 ชาวโรฮิงญาจะไม่สามารถขอสัญชาติพม่าได้ ชาวโรฮิงญาในฐานะกลุ่มคนถูกปฏิเสธว่าไม่มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์และถูกตีตราอย่างผิดๆ ว่าเป็น เบงกาลี (ชาวบังคลาเทศ)
นักวิชาการบางคนมีส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิเสธ ตัวอย่าง เช่น ดร. เอ ชาน (Dr Aye Chan) จากมหาวิทยาลัยการศึกษานานาชาติคันดะ (Kanda University of International Studies) ในเมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ปฏิเสธว่าโรฮิงญามีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน และอ้างว่าไม่มีแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับโรฮิงญาที่เป็นที่รู้จักก่อนทศวรรษที่ 1950 และยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกหลายบทความ เจ้าหน้าที่รัฐและสเปคทรัมทางการเมืองส่วนใหญ่ของเมียนมาปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ในหลายปีที่ผ่านมา ชาว
โรฮิงญาต้องเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงโหดร้ายและการโจมตีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
สัญลักษณ์ของนาซี
สวัสดิกะเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ใช้ในประเพณีชาวพุทธมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ดังนั้นการใช้สัญลักษณ์นี้ในประเทศที่ประชากรส่วนมากเป็นชาวพุทธจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ และในบริบทนี้ สัญลักษณ์สวัสดิกะจะไม่มีความสัมพันธ์กับแนวคิดแบบนาซี อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เครื่องหมายสวัสดิกะ (และการอ้างถึงอื่นๆ ที่เป็นปัญหา) ปรากฏอยู่ในบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญลักษณ์พุทธแบบเก่า แม้ว่าพม่าได้รับผล
กระทบที่รุนแรงจากสงครามโลกครั้งที่สอง มีชุมชนชาวยิวในประวัติศาสตร์ และมีการริเริ่มทั้งจากรัฐบาลและเอกชนเพื่อสอนเกี่ยวกับและรำลึกถึงโฮโลคอสต์ แต่สัญลักษณ์นาซีกลับถูกใช้ในที่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น มีการตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “การต่อสู้ของข้าพเจ้า” หรือ Mein Kampf ของฮิตเลอร์ฉบับภาษาพม่าโดยไม่มีการให้ความเห็นที่ร่วมสมัย และยังสามารถซื้อเสื้อยืดและสินค้าอื่นๆ ที่มีเครื่องหมายสวัสดิกะในร้านค้าทั่วไป รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้ให้ความเห็นไว้ว่า การใช้สัญลักษณ์นาซีในวัฒนธรรมป็อปคัลเจอร์นั้นเกี่ยวข้องกับความนิยมชมชอบผู้นำกองทัพเผด็จการในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
นอกจากนี้ สัญลักษณ์ของนาซียังปรากฏในวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่น ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทางตะวันตกพบเจอด้วยเช่นกัน วัยรุ่นจะใส่เครื่องหมายเหล่านี้โดยไม่รู้เรื่องโฮโลคอสต์หรือประวัติศาสตร์แท้จริงที่อยู่เบื้องหลัง Rebel Riot ซึ่งเป็นวงดนตรีพังค์ร็อกจากเมียนมาได้ออกมาพูดต่อต้านการใช้สัญลักษณ์ของนาซีและวัฒนธรรมการปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อยู่หลายต่อหลายครั้ง
‘Genocide’- เพลงของวง Rebel Riot
Rebel Riot.
(เครดิต: uniteasia.org)
โปสเตอร์ที่นักสิทธิมนุษยชนชาวพม่าได้เตรียมขึ้นและเผยแพร่ออนไลน์
“การต่อสู้ของข้าพเจ้า” ของฮิตเลอร์ฉบับภาษาพม่า (เครดิต: Maung Zarni)
สุเหร่าจามาในซิตต่วย (Sittwe) ที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19 เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงว่าชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ที่นี่จริงและเป็นระยะเวลานาน แต่ทางการห้ามไม่ให้เข้าไปในสุเหร่านี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 2021 (เครดิต: โรนัน ลี)
กุตุปาลอง (Kutupalong) และค่ายอพยพใกล้เคียงที่อยู่ใกล้กับค็อกซ์ บาซาร์ (Cox’s Bazar) ในบังคลาเทศ กลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพชาวโรฮิงญามากกว่าหนึ่งล้านคน (เครดิต: โรนัน ลี)
ในเมืองซิตต่วยเพียงไม่กี่ร้อยเมตรจากสลัมของชาวโรฮิงญา มีการพ่นสีรูปภาพต่อต้านชาวโรฮิงญาที่หน้าร้านค้าที่เคยเป็นของชาวโรฮิงญา ซึ่งคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่นาซีทำลายธุรกิจของชาวยิว (เครดิต: โรนัน ลี)
กลุ่มให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมพยายามรับมือการอพยพของชาวโรฮิงญาจำนวนมากจากเมียนมาในปีค.ศ. 2017 (เครดิต: โรนัน ลี)
4. ประเด็นหลักจากประวัติศาสตร์ร่วมสมัยใดที่เกี่ยวข้องกับงานของเราที่เป็นการต่อต้านการปฏิเสธและบิดเบือนโฮโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เมียนมานั้นภูมิใจในความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ในประเทศ ซึ่งรวมไปถึงมรดกของชาวยิวและการต่อต้านความรุนแรงของคนในประเทศ
ชาวยิวในฐานะส่วนหนึ่งของพหุสังคมในเมียนมา (พม่า)
ในปัจจุบัน ชาวยิวเป็นชนกลุ่มน้อยด้านศาสนาที่มีจำนวนน้อยที่สุดในเมียนมา คือมีเพียงยี่สิบคนเท่านั้นจากประชากรในประเทศทั้งหมด 52 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ในอดีตพม่าเคยมีประชากรยิวที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด เคยมีชาวยิวถึง 3,000 คนอาศัยอยู่ในพม่า
คุณสามารถรับชมการนำเสนอเกี่ยวกับชุมชนชาวยิวในเมียนมาในการประชุมสัมมนา “Identifying and countering Holocaust distortion: Lessons for and from Southeast Asia” ของแซมมี่ ซามูเอล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2021 (ภาษาอังกฤษ) :
การเดินทางของชาวยิวจากพม่าและไปยังพม่าในศตวรรษที่ 19 และ 20. (เครดิต: https://www.jewishvirtuallibrary.org/myanmar-virtual-jewish-history-tour)
โบสถ์มุสเมอาห์ เยชัว เป็นหนี่งในสถานที่ 188 แห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารมรดกของกรุงย่างกุ้ง (เครดิต : แซมมี่ ซามูเอลส์ ; NEVER AGAIN)
ใครคือชาวยิวคนแรกในพม่า
ชาวยิวคนแรกในประเทศที่เป็นที่รู้จักและได้รับการบันทึกไว้คือโซโลมอน กาบิรอล (Solomon Gabirol) ผู้บัญชาการกองทัพในสมัยพระเจ้าอลองพญาในศตวรรษที่ 18 เขาเป็นชาวยิวอินเดียหรือที่เรียกกันว่า กลุ่มเบเน อิสราเอล (Bene Israel) หลังจากนั้น ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนชาวยิวในพม่าจะเป็นชาวยิวจากประเทศอิรัก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับกาลิเซีย (ยุโรปตะวันออก หรือประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน) และโรมาเนียอีกด้วย โกลเดนเบิร์ก (Goldenberg) พ่อค้าชาวยิวจากโรมาเนียได้เดินทางมายังพม่า โซโลมอน ไรเนอมาน (Solomon Reineman) จากกาลิเซียเดินทางมาถึงกรุงย่างกุ้งในปีค.ศ. 1851 เขาเป็นผู้จัดหาสิ่งของให้กับกองทัพสหราชอาณาจักรและยังได้เปิดร้านค้าในที่ต่างๆ อีกด้วย หนังสือเรื่อง ‘Masot Shelomo’ (‘Solomon’s Travels’ หรือ ‘การเดินทางของโซโลมอน’ ที่ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1884) ของเขามีบทที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย จีน และพม่า และยังเป็นหนังสือภาษาฮิบรูเรื่องแรกที่เกี่ยวกับพม่าอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ชาวยิวส่วนมากที่เดินทางมายังกรุงร่างกุ้ง/ย่างกุ้งคือชาวยิวจากกรุงแบกแดดเพราะ ณ เวลานั้น พม่าเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดชาวยิวเหล่านี้ พ่อค้าบางคนจากเมือง
กัลกัตตาเดินทางมายังพม่าแต่ไม่ได้ตั้งรกรากถิ่นฐานที่นี่ ชาวยิวเริ่มย้ายมาอาศัยในพม่าเมื่อพม่ากลายเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรหลังจากทศวรรษที่ 1920 ชาวพม่าในเวลานั้นต้อนรับขับสู้ชาวยิวเป็นอย่างดี อันที่จริงแล้ว ชาวพม่านั้นใจกว้างต่อชาวยิวเป็นเวลามากกว่า 150 ปี ที่พม่านี้ไม่มีระบบชนชั้นวรรณะเหมือนที่อินเดียและลักษณะภูมิอากาศยังเหมาะกับการทำธุรกิจมากกว่าด้วย
สุสานชาวยิวในเมืองย่างกุ้งมีหลุมฝังศพมากกว่า 700 แห่ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์ )
ชาวยิวจากกรุงแบกแดดเหล่านี้คือใคร
ชาวยิวจากกรุงแบกแดดเป็นชาวยิวเซฟาร์ดี (ชาวยิวที่มีบรรพบุรุษจากคาบสมุทรไอบีเรีย คือประเทศสเปนและโปรตุเกสในปัจจุบัน – ผู้แปล) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวยิวเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากกรุงแบกแดดหรือเมืองบาสรา (Basra) และหลายคนมีบรรพบุรุษเป็นชาวยิวจากคาบสมุทรไอบีเรียที่ถูกลงโทษและขับออกจากสเปนในช่วงยุคกลาง ชาวยิวหลายคนจึงมาตั้งรกรากในจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในเวลานั้นรวมเอากรุงแบกแดดเข้าไปด้วยและตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
การตั้งถิ่นฐานในพม่าเป็นครั้งแรกของชาวแบกแดดน่าจะเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1841
เมื่อชาวยิวเดินทางมาถึงที่ใดก็มักจะสร้างสุสาน มิกเวห์ (mikveh หรือพิธีกรรมอาบน้ำ) โบสถ์ยิว และสถานที่สำหรับสวดมนต์ เรียนรู้ และศึกษาของชาวยิว ชาวพม่าที่นับถือศาสนายิวมักจะอาศัยอยู่ในกรุงร่างกุ้ง (ย่างกุ้ง) เป็นหลัก และยังมีอาศัยอยู่ในเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น เมืองมัณฑะเลย์ โบสถ์ยิวแห่งแรกก่อสร้างขึ้นในกรุงร่างกุ้งเมื่อปีค.ศ. 1857 มีชื่อว่า โบสถ์มุสเมอาห์ เยชัว (Musmeah Yeshua Synagogue ซึ่งเป็นภาษาฮิบรู แปลว่า นำการไถ่บาปมาให้) โดยสร้างด้วยไม้ในตอนแรกและสร้างใหม่ด้วยหินในภายหลัง
สถานะของชาวยิวในสังคมพม่าในช่วงภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นอย่างไร
ในหนังสือเรื่อง Almost Englishmen: Baghdadi Jews in British Burma ดร. รูธ เฟร็ดแมน เซอร์เนีย
(Dr Ruth Fredman Cernea) ได้เขียนว่าในลำดับของสังคมอาณานิคมนั้น ชาวยิวถูกมองว่าอยู่เหนือชาวพม่าแต่ไม่เคยเทียบเท่ากับชาวคริสต์ (ชาวสหราชอาณาจักร)
ชุมชนชาวยิวนั้นมีความหลากหลายต่างๆ :
- มีอัตลักษณ์ของชาวยิวที่ซับซ้อนซึ่งรวมเอาสิ่งที่สืบทอดมาทางแบกแดด อิทธิพลใหม่จากพม่า การเป็นผู้อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และการพูดหลายภาษาเอาไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีชาวยิวอินเดีย หรือกลุ่ม เบเน อิสราเอล ที่รู้ภาษาอังกฤษ และทำงานให้กับชาวสหราชอาณาจักรในร่างกุ้ง
- ครั้งหนึ่ง ชุมชนเคยมีชุดคัมภีร์ Sifrei Torah 126 เล่ม คัมภีร์ Talmud Torah กลุ่มไซออนนิสต์ และองค์กรการกุศลและองค์กรเพื่อชุมชนอีกจำนวนมาก
- ชาวยิวเข้าไปมีส่วนร่วมในภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้า สิ่งทอ และงานราชการ พวกเขามีที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการการปกครองตนเองเมืองร่างกุ้ง (Rangoon Municipal Committee) ชุมชนชาวยิวเคยมีโรงเรียนศาสนายิวซึ่งในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดเคยมีนักเรียนถึง 200 คน และเคยมีนายกเทศมนตรีชาวยิวสองคน คือ มิสเตอร์ราฟาเอล (Mr. Raphael) เคยเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองพะสิม (Bassein) และเดวิด โซฟาร์ (David Sophaer) เคยเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองร่างกุ้งในทศววรรษที่ 1930
ตระกูลโซฟาร์เป็นหนึ่งในครอบครัวชาวยิวที่สำคัญในพม่าในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร เดวิด โซฟาร์เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเป็นเวลาสั้นๆ และอาคารโซฟาร์ (Sofaer building) ที่งดงามยังคงตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนปานโสดาน (Pansodan Street หรือถนนเฟร (Phayre Street)) และถนนเมอร์ชานต์ (Merchant Street) รูปถ่ายนี้ถ่ายเมื่อธุรกิจของตระกูลโซฟาร์เพิ่งเริ่มขึ้นบนถนนเมอร์ชานต์ (เครดิต : แซมมี่ ซามูเอลส์)
ชุมชนชาวยิวได้บริจาคเงินจำนวนมากให้กับโรงเรียน ห้องสมุด โรงพยาบาลในท้องถิ่น และยังช่วยธุรกิจของชาวพม่าด้วยวิธีต่างๆ อันที่จริงแล้ว ชาวยิวจากแบกแดดในพม่านั้นอยู่ในสภาพสังคมที่หลากหลายมาก โดยอยู่ร่วมกับชาวพม่า ชาวอาร์เมเนีย ชาวอินเดีย และชาวจีน
ร้านขายโคคา โคล่าแห่งแรกในร่างกุ้ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์ )
นายกเทศมนตรชาวยิวของเมืองพะสิม อาร์. เอ. ราฟาเอล (จอห์น) (R.A. Raphael (John)) 1930-1937 (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์ )
เกิดอะไรขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ชาวยิวหลายคนที่เป็นคนภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องอพยพออกจากพม่าหลังที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศ (1942-1945) ชาวยิวประมาณ 500 คนกลับมาที่พม่าหลังจากสงครามสิ้นสุดลงและพบว่าชาวพม่าเข้าไปอาศัยในบ้านของตนและยังมีการขโมยของในบ้านด้วย ชุมชนชาวยิวในบางพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึงมัณฑะเลย์ ต้องพบกับจุดจบหลังจากเหตุการณ์นี้
ในขณะเดียวกันชาวยิวที่ยังคงอาศัยอยู่ในพม่าหรือเดินทางกลับมาได้พบเห็นและช่วยก่อตั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิสราเอลและพม่า เมียนมายังเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ยอมรับอิสราเอลซึ่งเป็นรัฐอิสระใหม่ในปีค.ศ. 1949 อู นุ (U Nu) นายกรัฐมนตรีของพม่าเป็นประมุขแห่งรัฐต่างชาติคนแรกที่ไปเยือนอิสราเอลในปีค.ศ. 1955 ในปีค.ศ. 1961 เดวิด เบน-กูเรียน (David Ben Gurion) นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลได้ใช้เวลาสองสัปดาห์ในพม่า ผู้นำของอิสราเอลเช่น ยิตซัค เบน-ซวี (Yitzhak Ben-Zvi)
โกลดา เมียร์ (Golda Meir) โมเช ดายัน (Moshe Dayan) และชีมอน เปเรส (Shimon Peres) ก็เคยไปเยือนพม่าด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กองทัพทำการปฏิวัติในปีค.ศ. 1962 ชาวยิวจำนวนมากต้องออกจากประเทศพม่าอีกครั้งเมื่อลัทธิชาตินิยมพุทธได้รับความนิยมมากขึ้นและสถานะของชนกลุ่มน้อยในพม่าและเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ลง ชาวยิวจำนวนมากอพยพไปยังอิสราเอล ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ทุกวันนี้ ลูกหลานของชาวยิวพม่ามีอัตลักษณ์แบบแบกแดด-พม่า-ยิวที่น่าสนใจซึ่งเป็นมากกว่าอัตลักษณ์แบบเมียนมาอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นหัวข้อที่สามารถนำมาทำวิจัยต่อ ยอดได้
อู นุ นายกรัฐมนตรีของพม่านั่งรถไปตามถนนอัลเลนบีในกรุงเทลอาวีฟ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
นายกรัฐมนตรีโมเช ดายันต้อนรับ อู นุ นายกรัฐมนตรีของพม่าที่สนามบินลอด (Lod Airport) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
นายกรัฐมนตรีเดวิด เบน-กูเรียนแต่งกายในชุดประจำชาติพม่าระหว่างการเยือนกรุงร่างกุ้งในฐานะแขกของอู นุ นายกรัฐมนตรีพม่า วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์ )
นายกรัฐมนตรีเดวิด เบน-กูเรียนเยี่ยมชมมหาเจดีย์ชเวดากอง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
ครอบครัวซามูเอลส์
ในทางประวัติศาสตร์แล้ว มีครอบครัวชาวยิวที่มีชื่อเสียงหลายครอบครัว หนึ่งในนั้นคือตระกูลซามูเอลส์ โมเสส ซามูเอลส์เป็นผู้นำชุมชนชาวยิวตั้งแต่ปีค.ศ. 1978 โมเสส ภรรยาของเขา และลูกทั้งสามคน คือลูกสาวสองคน และซามูเอล ลูกชาย เป็นผู้ดูแลโบสถ์มุสเมอาห์ เยชัว และสุสานชาวยิวที่มีหลุมฝังศพกว่า 600 แห่ง โบสถ์ยิวแห่งนี้ยังคงเปิดต้อนรับครอบครัวต่างๆ ที่ยังคงอาศัยอยู่ในกรุงย่างกุ้ง นักท่องเที่ยวต่างชาติชาวยิว นักการทูต และชาวต่างชาติที่อาศัยในพม่า การประกอบพิธีมินยัน (minyan) ประจำวัน
หลังจากที่โมเสส ซามูเอลส์เสียชีวิตลงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แซมมี่ ซามูเอลส์ บุตรชายของเขา ก็กลายเป็นผู้นำชุมชนแทน เขาเข้ารับการศึกษาที่เยชิวา (yeshiva หรือ โรงเรียนสอนศาสนายิวขั้นสูง – ผู้แปล) และอาศัยอยู่ในนิวยอร์กแต่ก็กลับมาเพื่อสืบสานวัฒนธรรมชาวยิวในพม่า ด้วยเหตุผลนี้เอง ในปีค.ศ. 2006 เขาจึงก่อตั้งบริษัทท่องเที่ยวชื่อว่า ชาลอม (Shalom) เพื่อส่งเสริมชาวพม่าที่นับถือศาสนายิว ในไม่กี่ปีหลังมานี้ ชุมชนชาวยิวได้รับความสนใจจากนานาชาติเนื่องมาจาก
งานที่แซมมี่ ซามูเอลส์และชาวยิวคนอื่นๆ ทำ ชุมชนชาวยิวในพม่าเป็นส่วนหนึ่งของ Euro-Asian Jewish Congress และองค์กรชาวยิวอื่นๆ
เมียนมาอาจเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พูดถึงเหตุการณ์โฮโลคอสต์ในบทเรียน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวก็ยังมีน้อย ด้วยเหตุนี้ ชุมชนชาวยิวจึงได้พยายามส่งเสริมการทำความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายร่วมสมัยในเมียนมาให้กับชาวพม่าและยังมีการจัดงานเพื่อรำลึกและให้ความรู้เกี่ยวกับโฮโลคอสต์ให้กับนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย
แซมมี่ ซามูเอลส์ ผู้นำชุมชนชาวยิว (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
ครอบครัวชาวยิวพม่า (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
ระหว่างการประกอบพิธีกรรมต่างศาสนาในบ้านพักของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
“ทุกปี เราจะจัดงานวันรำลึกโฮโลคอสต์ (Holocaust Remembrance Day) สำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในวันที่ 27 มกราคม โดยมีผู้ร่วมงาน 300-400คน เราจะพาผู้ร่วมงานเยี่ยมชมโบสถ์ยิว เล่าเรื่องศาสนายูดาห์ให้พวกเขาฟัง จากนั้นเราอาจจะพาพวกเขาไปโบสถ์คริสต์ วัด และสุเหร่าใกล้ๆ สำหรับผู้ร่วมงานหลายคน นี่คือครั้งแรกที่พวกเขาได้ไปสถานที่เหล่านี้” – แซมมี่ ซามูเอลส์, ผู้นำชุมชนชาวยิว
ผู้เข้าเยี่ยมชมโบสถ์ยิวในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
ผู้เข้าเยี่ยมชมที่โบสถ์ยิวในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
แซมมี่ ซามูเอลส์เข้าพบพระสันตะปาปาฟรานซิสระหว่างเสด็จเยือนเมียนมาในค.ศ. 2017 (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
“แคมเปญ We Remember (เรายังจดจำ) ที่เราจัดเป็นประจำทุกปีไม่ได้เกี่ยวกับโฮโลคอส์เท่านั้น แต่เรายังต้องการพูดคุยเกี่ยวกับปัจจุบัน เราทำให้คนสนใจเหตุการณ์โหดร้ายที่กำลังเกิดขึ้น สนใจเรื่องชนกลุ่มน้อยในพม่าที่ถูกลงโทษ เราส่งเสียงเพื่อคนเหล่านี้” – แซมมี่ ซามูเอลส์, ผู้นำชุมชนชาวยิว
คำถามชวนคิด:
- อะไรคือสิ่งที่หายไปจากความรู้ปัจจุบันและวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในเมียนมา
- เราจะสามารถใช้มรดกตกทอดของชาวยิวเพื่อสร้างสังคมที่เป็นพหุสังคม เปิดกว้าง และรับฟังความเห็นของผู้อื่นในพม่าได้อย่างไร
- การให้การศึกษาเรื่องโฮโลคอสต์เกี่ยวข้องกับการสอนเรื่องความโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาในเมียนมาอย่างไร
แคมเปญ WE REMEMBER ทั่วเมียนมา (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
แคมเปญ WE REMEMBER ทั่วเมียนมา (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
งานต่างศาสนาที่โบสถ์ยิวในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
Hanukkah Celebration at Yangon Synagogue, 2019. (Credit: Archive of Sammy Samuels)
งานเฉลิมฉลองฮานุกกาห์ (Hanukkah Celebration ) ที่โบสถ์ยิวในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
แคมเปญ WE REMEMBER ทั่วเมียนมา (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
แคมเปญ WE REMEMBER ทั่วเมียนมา (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
แคมเปญ WE REMEMBER ทั่วเมียนมา (เครดิต: แซมมี่ ซามูเอลส์)
การขัดขืนในประเทศ
หนึ่งในการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่น่าสนใจที่สุดในเมียนมาคือ แคมเปญกุหลาบขาว หรือ White Rose Campaign ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความสามัคคีและความสงบสุขต่างศาสนาในเมียนมาและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชนกลุ่มน้อยชาวอิสลามซึ่งรวมไปถึงชาวโรฮิงญา ชาวพุทธจะมอบดอกกุหลาบสีขาวให้กับชาวมุสลิมในสุเหร่าใกล้ๆ หลังจากที่ทำละหมาดเสร็จ นักเคลื่อนไหวต่างศาสนาเริ่มแคมเปญกุหลาบขาวไม่นานหลังจากที่สถานที่สำหรับทำละหมาดของชาวมุสลิมถูกปิดลงโดยพระชาวพุทธชาตินิยมที่นำผู้ประท้วงเข้าไปในพื้นที่ของชาวมุสลิมสามแห่งในเขตเมืองดากองทางตอนใต้ (South Dagon) ในกรุงย่างกุ้งในคืนวันที่ 14-15 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ผู้ริเริ่มแคมเปญกุหลาบขาวคือ ท่าน พระสงฆ์อะฉิ่น เส่งดิตะ (Venerable Ashin Seindita) และผู้นำศาสนาอื่นๆ โดยเริ่มต้นในกรุงย่างกุ้งและแพร่ไปยังเมืองอื่นๆ อย่างรวดเร็ว คือ สะกาย (Sagaing) มะละแหม่ง (Mawlamyine) มัณฑะเลย์ (Mandalay) พะโค (Bago) เนปยีดอ (Naypyitaw) และแปร (Pyay)
รับชม เทท ซเว วิน (Thet Swe Win) นักเคลื่อนไหวต่างศาสนา และผู้ก่อคั้งและผู้อำนวยการบริหาร Synergy – Social Harmony Organisation เล่าเรื่องแคมเปญนี้ (ภาษาอังกฤษ):
แคมเปญกุหลาบขาวร่วมสมัยในเมียนมานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการใช้สัญลักษณ์ของ กุหลาบขาว หรือกลุ่มนักศึกษาต่อต้านนาซีที่ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1942 การเคลื่อนไหวใต้ดินนี้สนับสนุนการต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อเป็นวิธีต่อต้านการปกครองของนาซีในประเทศเยอรมนี
The White Rose campaign in Yangon and other citiesin Myanmar.
(Credit: Archive of Thet Swe Win)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
เทท ซเว วิน พร้อมสมาชิกในครอบครัวกำลังยื่นดอกไม้ให้กับชาวมุสลิมในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: เทท ซเว วิน)
หนึ่งในการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่น่าสนใจที่สุดในเมียนมาคือ แคมเปญกุหลาบขาว หรือ White Rose Campaign ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความสามัคคีและความสงบสุขต่างศาสนาในเมียนมาและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชนกลุ่มน้อยชาวอิสลามซึ่งรวมไปถึงชาวโรฮิงญา ชาวพุทธจะมอบดอกกุหลาบสีขาวให้กับชาวมุสลิมในสุเหร่าใกล้ๆ หลังจากที่ทำละหมาดเสร็จ นักเคลื่อนไหว
เทท ซเว วิน พร้อมสมาชิกในครอบครัวกำลังยื่นดอกไม้ให้กับชาวมุสลิมในกรุงย่างกุ้ง (เครดิต: เทท ซเว วิน)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
แคมเปญกุหลาบขาวในกรุงย่างกุ้งและเมืองอื่นในเมียนมา (เครดิต: เทท ซเว วิน)
“สะยาดอ บะดะตะ เส่งดิตะ (Sayadaw Badata Seindita) จาก Light มอบดอกกุหลาบสีขาวให้กับเลขาธิการของ KAICIID ท่านไฟซาล บิน มูอัมมาร์ (H.E Faisal Bin Muaammar) และที่ปรึกษาอาวุโส ศาตราจารย์โมฮัมเมด อาบู-ไนเมอร์ (Professor Mohammed Abu-Nimer)
(เครดิต: White Rose Facebook group)
กลุ่มกุหลาบขาวในเยอรมนีได้:
- เขียนและพิมพ์ใบปลิวปลุกใจให้ชาวเยอรมันเข้าร่วมต่อต้านการปกครองของนาซีกับตน
- แจกจ่ายใบปลิวไปตามที่อยู่ที่สุ่มเลือกจากสมุดโทรศัพท์ ที่มหาวิทยาลัย และสถานที่อื่นๆ
- เขียนกราฟฟิตี “Down with Hitler” (“ฮิตเลอร์จงพินาศ”) และ “Freedom” (“เสรีภาพ”) บนกำแพงทั่วเมืองมิวนิค
เรื่องราวนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจเพื่อสอนเรื่องโฮโลคอสต์พร้อมกับการอ้างอิงร่วมสมัยในเมียนมาและในภูมิภาค
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ กุหลาบขาว ขบวนการต่อต้านนาซีของนักศึกษา (ภาษาอังกฤษ): https://encyclopedia.ushmm.org/content/en/article/white-rose
อาลี อัล-นาซานี (Ali Al–Nasani) ผู้อำนวยการของ Heinrich Böll Stiftung กัมพูชาบอกเล่าเรื่องราวของขบวนการกุหลาบขาวให้กับชาวกัมพูชา, 2019 (เครดิต: NEVER AGAIN Association)
ราฟาล พานโควสกี้ จาก NEVER AGAIN ใส่เสื้อยืดของแคมเปญกุหลาบขาวของเมียนมาและผู้ลี้ภัยเด็กชาวโรฮิงญาในบังคลาเทศ, พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 (เครดิต: NEVER AGAIN Association)
คำถามชวนคิด:
- วิธีและเครื่องมือเพื่อต่อต้านความรุนแรงและความเกลียดชังต่อชนกลุ่มน้อยในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง
- เหตุใดกลุ่มต่อต้านกุหลาบขาวจากเยอรมนีถึงเป็นต้นแบบสำหรับเยาวชนในเมียนมาและ
ประเทศอื่นๆ ในปัจจุบัน
Thank you for taking the time to give us feedback on this online exhibition. Please share your thoughts, reflections and comments on this. We appreciate your cooperation.