ยาน โทมัสซ์ โกรสส์ (รูป: มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน)
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการรับมืออดีตและการตอบโต้การบิดเบือนโฮโลคอสต์คือยาน ที. โกรสส์ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวโปลิช-อเมริกันและศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและหนังสือที่มีอิทธิพลในเรื่องนี้ คือ ‘Neighbors. The Destruction of the Jewish Community in Jedwabne, Poland’ (Princeton, 2001); ‘Fear:(Random House, 2006), and ‘Golden Harvest: Events at the Periphery of the Holocaust’ (เขียนร่วมกับอิเรนา กรุดซินสก้า-โกรสส์ (Irena Grudzińska-Gross), Oxford University Press, 2012) ยาน ที. โกรสส์จะค้นคว้าหัวข้อที่ถูกละเลยก่อนหน้านี้ หนังสือแต่ละเล่มของเขาเป็นการนำเสนอเรื่องการโต้เถียงในแต่ละเรื่อง ในหนังสือเรื่อง ‘Neighbors’ ที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาโปลิชในปีค.ศ. 2000 และตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในปีถัดมา โกรสส์ได้เขียนถึงการสังหารหมู่ชาวยิวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ที่เมืองเยดวับนา (Jedwabne) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ทางตะวันออกของประเทศโปแลนด์ โดยชาวโปลิชที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้และเมืองใกล้เคียงได้ต้อนชาวยิวจากในเมืองไปยังตลาด และทุบตีชาวยิว ทำให้ชาวยิวได้รับความอับอาย มีชาวยิวเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้หลายคน ต่อมา ชาวเมืองต้อนชาวยิวที่อยู่ในตลาดไปที่โรงนาที่ราดน้ำมันก๊าดจนทั่วและจุดไฟเผา เมืองนี้ถูกปกครองด้วยทหารชาวเยอรมันแต่ทหารเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่โดยตรง
อนุสาวรีย์ในเมืองเยดวับนา (รูป: Wikimedia Commons)
ด้วยเนื้อหาในหนังสือนี้ จึงทำให้เกิดการสนทนาระดับชาติเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาวยิวและเพื่อนบ้านชาวคริสต์ ลัทธิต่อต้านชาวยิว และความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวยิวช่วงสงครามในโปแลนด์และประเทศอื่นในยุโรปที่ถูกนาซียึดครอง นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังทำคนหันมาสนใจเรื่องราวของชุมชนธรรมดาชุมชนหนึ่งในช่วงสงคราม การทำลายล้าง และความโหดร้าย (นาซีเยอรมนีปกครองโปแลนด์ด้วยความรุนแรงในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง) ในช่วงที่มีการถกเถียงกันนี้ สังคมในโปแลนด์เต็มไปด้วยความแตกแยกและมีปฏิกิริยาต่อหนังสือเล่มนี้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ มีการตีพิมพ์งานต่อต้านโกรสส์หลายร้อยงานในช่วงปีต่อ ๆ มา ผู้บิดเบือนกล่าวหาว่าโกรสส์ได้ทำให้ข้อเท็จจริงกลายเป็นเรื่องปกติและนำเสนอข้อเท็จจริงแบบเกินจริง ต่อต้านความเป็นโปแลนด์ และไม่ปฏิบัติตนเฉกเช่นที่นักวิชาการควรปฏิบัติ ผู้บิดเบือนเหล่านี้ยังใช้คำกล่าวอ้างเรื่องการแข่งขันกันเป็นเหยื่อ (competitive victim) ที่เน้นเรื่องความทุกข์ทรมานของชาวชนชาติโปแลนด์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิเสธว่าชาวชนชาติโปแลนด์มีส่วนร่วมในความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวยิว และมุ่งเน้นว่าการสังหารหมู่ที่เมืองเยดวับนาเป็นความผิดของชาวเยอรมันเท่านั้น (การเลือกปฏิเสธ) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโปแลนด์ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนที่นำโดยสถาบัน Institute of National Remembrance (IPN) โดยผลการสอบสวนยืนยันว่าชาวโปแลนด์มีส่วนร่วมโดยตรงในการสังหารหมู่ชาวยิว
อันนา บิคอนท์ (รูป: Wikimedia Commons)
อันนา บิคอนท์ นักข่าวชาวโปแลนด์ได้ทำข่าวเชิงสืบสวนและสัมภาษณ์ประชาชนในเมืองเยดวับนาหลังจากที่ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง My z Jedwabnego (‘Jedwabne: Battlefield of Memory’) ในปีค.ศ. 2004
เด็กนักเรียนชาวโปแลนด์ (ทั้งยิวและคริสต์) และคุณครู, เยดวับนา, โปแลนด์, 1933(รูป: Wikimedia commons, ที่มา: Jewish Historical Institute)
ทาเดอุสซ์ สโลโบดเซียเน็ก (Tadeusz Słobodzianek) เขียนบทละครเวทีเรื่อง ‘Nasza klasa/Our Class’ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและเพื่อนบ้านทั้งชาวยิวและชาวคริสต์กลุ่มหนึ่งในเมืองเยดวับนาโดยเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1925 จนถึงปัจจุบันและจัดแสดงในโรงละครในโปแลนด์ ละครเวทีเรื่องนี้เป็นละครเวทีเรื่องแรกที่พูดถึงการสังหารหมู่ที่เยดวับนาและได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือเรื่อง ‘Neighbors’ ของยาน ที. โกรสส์
หนังสือเรื่อง ‘Neighbors’ ของยาน ที. โกรสส์ยังทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องนี้ในประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออกด้วย เช่น โรมาเนีย มอลโดวา หรือลิทัวเนีย แม้ว่าบริบททางประวัติศาสตร์จะแตกต่างกันก็ตาม ตัวอย่าง เช่น ในปีค.ศ. 2012 นิโคเลตา เอสิเนคู (Nicoleta Esinencu) นักเขียนชาวมอลโดวาผู้ได้รับทราบเรื่องโฮโลคอสต์ที่เกิดขึ้นในบ้านเกิดของเธอในวัยยี่สิบปลาย ๆ ในขณะที่อยู่ในประเทศเยอรมนีได้เขียนและนำเสนอบทละครที่ชื่อว่า ‘Clear History’ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอิอน อันโตเนสคู (Ion Antonescu) เผด็จการชาวโรมาเนียและพันธมิตรของฮิตเลอร์ และชะตากรรมของชาวยิวและชาวโรมาที่อยู่ภายใต้การปกครองของอันโตเนสคู
รูป: Archive of theatre “Spalatorie”, Chisinau, Moldova
ดิอานา ดูมิทรู (Diana Dumitru) นักประวัติศาสตร์ชาวมอลโดวาผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบทบาทของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อโฮโลคอสต์ในโรมาเนียเรื่อง “The State, Antisemitism, and Collaboration in the Holocaust: The Borderlands of Romania and the Soviet Union” (2018) กล่าวว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของยาน ที.โกรสส์ โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง ‘Neighbors’ ในลิทัวเนีย เอฟราม ซูรอฟฟ์ (Efraim Zuroff) นักล่านาซีและผู้สืบเชื้อสายจากเหยื่อโฮโลคอสต์ และรึต้า วานาเกต (Rūta Vanagaitė) นักเขียนและผู้สืบเชื้อสายจากผู้ให้ความช่วยเหลือนาซี ได้ร่วมกันค้นคว้าและตีพิมพ์หนังสือชื่อ ‘Our People. Discovering Lithuania's Hidden Holocaust’ ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับบทบาทของคนในพื้นที่ที่เกิดการสังหารหมู่ชาวยิวและเจ้าหน้าที่ชาวลิทัวเนียที่พยายามปิดบังการร่วมกระทำความผิดของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือที่อยู่ในพื้นที่ ในหนังสือเล่มที่สอง ‘Fear. Anti-Semitism in Poland Shortly After the War’ โกรสส์ ได้เล่าเรื่องการสังหารหมู่นองเลือดในเมืองคีเอลเซ (Kielce) ประเทศโปแลนด์หนึ่งปีหลังจากที่สงครามจบลง มีชาวยิวเพียงร้อยละสิบเท่านั้นที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์โฮโลคอสต์และพวกเขาเริ่มเดินทางกลับบ้านซึ่งส่วนใหญ่ถูกชาวโปแลนด์เข้าจับจองเป็นเจ้าของหมดแล้ว ชาวยิวถูกกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่าได้กระทำการสังหารชาวคริสต์เพื่อนำเลือดไปทำพิธี3 (blood libel) ส่งผลให้ชาวยิวบางคนถูกทำร้ายและถูกสังหาร ในขณะที่ชาวยิวคนอื่นตัดสินใจอพยพออกจากโปแลนด์เป็นการถาวร หนังสือยังคงพูดถึงปัญหาเรื่องการเหมารวม (stereotype) ลัทธิต่อต้านชาวยิว และความโหดร้ายหลังสงคราม คุณสามารถอ่านเรื่องการสังหารหมู่ที่คีเอลเซเพิ่มเติมได้ที่ (ภาษาอังกฤษ) : https://encyclopedia.ushmm.org/content/en/article/the-kielce-pogrom-a-blood-libel-massacre-of-holocaust-survivors
ในรูป: ยาน ที. โกรสส์กำลังแบ่งปันประสบการณ์การถกเถียงในโปแลนด์ให้กับนักวิชาการ นักเรียน และประชาชนชาวมอลโดวา. Chisinau, 2017. องค์กร NEVER AGAIN Association ได้จัดงานเหล่านี้โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน Friedrich Ebert Stiftung Moldova (รูป: NEVER AGAIN).
ในปีค.ศ. 2017 องค์การ NEVER AGAIN ร่วมกับพันธมิตรขององค์กรได้ร่วมกับแปลและตีพิมพ์หนังสือ‘Golden Harvest: Events at the Periphery of the Holocaust’ (2011) ของยาน ที. โกรสส์เป็นภาษารัสเซียและภาษาโรมาเนีย (บางส่วน) หนังสือเล่มเป็นเรื่องรวมของชาวนาชาวโปแลนด์ที่ค้นหาฟันที่ทำมาจากทองและสมบัติอื่น ๆ ที่เถ้าถ่านของชาวยิวที่ถูกสังหารในค่ายมรณะที่เทรบลิงกา (Treblinka) มันเป็นเรื่องราวของความเกลียดชัง ลัทธิต่อต้านชาวยิวที่ยังคงมีอยู่ และความโลภ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ (ภาษาอังกฤษ): NEVER AGAIN support Holocaust awareness in Eastern Europeหนังสือแปลเรื่องนี้เปิดตัวในประเทศมอลโดวา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวมอลโดวามีการถกเถียงเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศตน
ในรูป: นาตาเลีย คารายออน (Natalia Caraion) อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ชาวมอลโดวาจากหมู่บ้านโอลาเนสตี (Olanesti) กำลังมอบดอกไม้ให้กับศาสตราจารย์โกรสส์ระหว่างงานเปิดตัวหนังสือ คุณสามารถฟังการบรรยายของยาน ที. โกรสส์ที่ Moldova State University (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่นี่ :Lecture of Jan T. Gross at Moldova State University (with introduction of Rafał Pankowski), 14.09.17 คุณสามารถชมการนำเสนอของยาน ที. โกรสส์ ในการประชุมที่จัดโดยพิพิธภัณฑ์ Liberation War Museum (บังคลาเทศ) และองค์กร NEVER AGAIN ได้ที่:https://www.nigdywiecej.org/en/multimedia/video-materials/4553-holocaust-and-genocide-distortion-and-hate-speech-co-organised-by-the-never-again-association
● การอภิปรายทำให้เห็นความซับซ้อนของโฮโลคอสต์ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินโปแลนด์ที่ทหารเยอรมันเป็นผู้กระทำ เมื่อชาวโปแลนด์นั้นมีทัศนคติต่อชาวยิวที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจไปจนถึงความไม่สนใจและความเกลียดชัง ● การอภิปรายทำให้ความเข้าใจของชาวโปแลนด์เรื่องสงครามและความต้องการของสังคมที่จะจดจำเรื่องโฮโลคอสต์จากมุมมองของเหยื่อนั้นเปลี่ยนไป ● การอภิปรายทำให้เกิดการสมานฉันท์กันระหว่างชาวโปแลนด์และชาวยิวในประเทศโปแลนด์หลังยุคคอมมิวนิสต์ โดยชาวโปแลนด์หลายคนเริ่มมองในบางแง่มุมของอดีตและอัตลักษณ์ของตนอย่างวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น ● การอภิปรายทำให้ความสนใจและการริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสังคมที่ตระหนักเรื่องประวัติศาสตร์และพหุนิยมในโปแลนด์เพิ่มมาก
Questions for Critical Thinking: 1. ความสัมพันธ์ของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างไรในช่วงสงครามและความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อชนกลุ่มน้อยอย่างไร 2. งานค้นคว้าใหม่ ๆ จะมีประโยชน์ต่อกระบวนการการรับมืออดีตและมีผลต่อการถกเถียงเชิงวิพากษ์อย่างไร ความท้าทายมีอะไรบ้าง 3. การถกเถียงเชิงวิพากษ์จะมีประโยชน์อย่างไรในกัมพูชา พม่า และไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมาจากกลุ่มชนที่หลากหลายและมี ‘เพื่อนนบ้าน’ มากมาย 4. การถกเถียงเชิงวิพากษ์จะต่อต้านการบิดเบือนโฮโลคอสต์และเหตุการณ์โหดร้ายอื่น ๆ ได้หรือไม่
created with