หลายประเทศในยุโรปมีกฎหมายห้ามไม่ให้ปฎิเสธว่าเหตุการณ์โฮโลคอสต์ไม่ได้เกิดขึ้น และหลายประเทศยังมีการออกกฎหมายต่อต้านความเกลียดชังด้านเชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่กว้างกว่า ในขณะที่เราควรประนามการปฏิเสธโฮโลคอสต์แบบชัดเจน แต่การบิดเบือนโฮโลคอสต์และการทำให้โฮโลคอสต์กลายเป็นเรื่องไม่มีสาระนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายมากกว่าและควรเข้าใจรูปแบบการกระทำที่ดูออกได้ยากกว่าเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ การกระทำเหล่านี้ยังสามารถแสดงออกมาได้ด้วยวิธีที่กฎหมายหรือมาตรการที่คล้ายกันไม่สามารถลงโทษได้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สามารถเห็นได้ชัดในประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่สังคมยังพยายามทำใจยอมรับกับอดีตของชาติตนและพยายามค้นหาการแสดงออกที่เกี่ยวกับความทรงจำร่วมกันของคนในชาติอยู่ การถกเถียงเรื่องลัทธิการแก้ไขโฮโลคอสต์ (Holocaust revisionism) “ช่วย” ให้คนเหล่านี้รับมือกับความรู้สึกผิดต่อบทบาทต่าง ๆ ของตนที่เกี่ยวข้องกับโฮโลคอสต์ และมีความเป็นไปได้ว่ากฎหมายต่อต้านการปฎิเสธโฮโลคอสต์ดั้งเดิมที่มีขึ้นเพื่อปกป้องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์จากการนำไปใช้ในทางที่ผิดนั้นอาจถูกรัฐบาลแก้ไขใหม่เพื่อปกป้องเรื่องราวเกี่ยวกับโฮโลคอสต์ในชาติตนเอง [1] เราสามารถต่อสู้กับการบิดเบือนโฮโลคอสต์ผ่านการถกเถียงเชิงวิพากษ์ เช่น การถกเถียงเรื่องหนังสือของ ยาน ที. โกรสส์ การพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์ และการให้ความสนับสนุนการค้นคว้าเกี่ยวกับโฮโลคอสต์ และผู้ค้นคว้าในประเทศที่เกิดโฮโลคอสต์และการสืบสวนปัญหาที่ถูกละเลยก่อนหน้านี้ การศึกษาและการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจคล้ายกับการรณรงค์ขององค์กร NEVER AGAIN Association ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความพยายามระดับโลกเพื่อต่อสู้กับการปฏิเสธและการบิดเบือนโฮโลคอสต์ได้ที่เว็บไซต์ของ IHRA (ภาษาอังกฤษ): https://www.holocaustremembrance.com/task-force-against-holocaust-denial-and-distortion [1] https://www.holocaustremembrance.com/news-archive/holocaust-denial-laws-effective-tool-or-trojan-horse, เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 17.01.2022.
ในปีค.ศ. 1998 เดวิด เออร์วิง ผู้ปฏิเสธโฮโลคอสต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดได้ฟ้องเดบอราห์ ลิปสตัดท์ นักวิชาการชาวอเมริกันและสำนักพิมพ์เพนกวินโดยอ้างว่าที่คู่ได้หมิ่นประมาทตนเองในหนังสือของลิปสตัดท์ที่ชื่อว่า “Denying the Holocaust” เออร์วิงยื่นฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยใช้กฎหมายเรื่องโฆษณาหมิ่นประมาทของสหราชอาณาจักร โดยในหนังสือ ลิปสตัดท์ได้กล่าวหาเออร์วิงว่าตีความหลักฐานแบบผิด ๆ และเรียกเขาโดยหนึ่งในชื่อที่ใช้เรียกคือ “หนึ่งในโฆษกของการปฏิเสธโฮโลคอสต์ที่อันตรายที่สุด” นอกจากนี้ลิปสตัดท์ยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเออร์วิงกับองค์กรและบุคคลสำคัญของกลุ่มนีโอนาซี วัตถุประสงค์ของการฟ้องร้องของเออร์วิงคือเพื่อให้หยุดการวิพากษ์วิจารณ์และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความคิดของเขาผ่านทางศาลให้แพร่หลาย ผู้ปฏิเสธโฮโลคอสต์จะเรียกร้องหาเสรีภาพในการพูด เมื่อต้องการปฏิเสธที่จะนำเสนอความเห็นและถกเถียงความคิดเห็นของตนอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น งานของลิปสตัดท์และนักประวัติศาสตร์ท่านอื่นส่งผลให้คำฟ้องของเออร์วิงถูกยกฟ้อง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เดวิด เออร์วิงถูกจับกุมเมื่อเขาเดินทางไปออสเตรียเพื่อทำการบรรยายให้กับกลุ่มนักเรียนขวาจัด เขาถูกกล่าวหาว่าเขาปฏิเสธว่าห้องรมแก๊สที่เอาชวิทซ์นั้นไม่มีจริงในขณะที่กล่าวสุนทรพจน์และให้สัมภาษณ์ในออสเตรียเมื่อปีค.ศ. 1989 เขาถูกจำคุกหนึ่งปีก่อนได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด
รูป: ศาสตราจารย์เดบอราห์ ลิปสตัดท์, Wikimedia Commons
รูป: เดวิด เออร์วิงขณะการพิจารณาคดีที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 2006. Wikimedia commons.
เราขอแนะนำให้คุณชมภาพยนตร์แนวชีวประวัติเรื่อง ‘Denial’ (2016) กำกับโดยมิค แจ็คสัน (Mick Jackson) และเขียนบทโดยเดวิด ฮาร์ (David Hare) โดยภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสือเรื่อง “History on Trial: My Day in Court with a Holocaust Denier” ที่ตีพิมพ์ในปี 2005 ของเดบอราห์ ลิปสตัดท์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคดีระหว่างเออร์วิงและบริษัทเพนกวิน บุคส์ จำกัด ซึ่งเป็นคดีที่เดวิด เออร์วิงซึ่งเป็นผู้ปฏิเสธโฮโลคอสต์ฟ้องร้องลิปสตัดท์ นักวิชาการเรื่องโฮโลคอสต์ในข้อหาหมิ่นประมาท: https://bleeckerstreetmedia.com/denial
David Irving met with outrage in Poland. “Searchlight”, Great Britain, 10.2010. PDF
created with